แนวทางการบริหารโรงเรียนโดยใช้เทคโนโลยียุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง
คำสำคัญ:
การบริหาร, เทคโนโลยียุคดิจิทัลบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารโรงเรียนโดยใช้เทคโนโลยียุคดิจิทัล ของโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง และ 2) นำเสนอแนวทางบริหารโรงเรียนโดยใช้เทคโนโลยียุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กรณีศึกษาที่มีความเป็นเลิศในการบริหารงานโดยใช้เทคโนโลยียุคดิจิทัล ได้แก่ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง เก็บข้อมูลด้วยการสังเกตและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 3 คน ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (triangulation) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง มีการดำเนินงานบริหารงานโรงเรียนโดยใช้เทคโนโลยียุคดิจิทัล โดยใช้กระบวนการบริหารคุณภาพ PDCA ผู้บริหารให้ความสำคัญในการกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ในการกำหนดเป้าหมายโรงเรียนในความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี กำกับติดตามการปฏิบัติงาน มีการให้การอบรมและให้ความรู้ในเรื่องการใช้เทคโนโลยียุคดิจิทัลในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน และปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานบริหารโรงเรียนโดยใช้เทคโนโลยียุคดิจิทัลอีกส่วนหนึ่ง เกิดขึ้นได้จากการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง ชุมชน และภาคีเครือข่ายของสถานศึกษาในทุกภาค นอกจากนั้นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ 2) แนวทางการบริหารโรงเรียนโดยใช้เทคโนโลยียุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ควรมีรูปแบบในการดำเนินงานที่มีความชัดเจน ผู้บริหารให้ความสำคัญในการกำกับติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาความรู้การปฏิบัติงานให้ครู นอกจากนั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในทุกขั้นตอน
References
กัลยา แม้นมินทร์, พัชรี บุศราวงศ์, และ วรุฒ สังข์สุวรรณ์. (2551). การบริหารจัดการเทคโนโลยีในโรงเรียน : คู่มือสำหรับผู้บริหาร. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2546). การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศและแผนการเตรียมรับของผู้บริหาร โรงเรียนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของไทย ระหว่างปี2545-2554. [วิทยานพนธ์ปริญญาดุษฏี บัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5966
ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ และ ครรชิต มาลัยวงศ์. (2549). การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ. ดอกหญ้ากรุ๊ป.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (2542). ราชกิจจานุเบกษา, 116(74), 1-23.
เพ็ญวรา ชูประวัติ. (2553). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car. chula.ac.th/handle/123456789/36308
วิจารณ์ พานิช. (2558). แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่21. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ศิริลักษณ์ นาทัน. (2550). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนต้นแบบในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car. chula.ac.th/handle/123456789/13861
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การพัฒนาการใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนผู้นำ ICT โรงเรียนในฝัน. สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2557). รายงานผลการศึกษาตัวชี้วัด ICT ด้านการศึกษาในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา2557. กระทรวงศึกษาธิการ.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี:การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(2), 117-128.
Meng, H. (2011). Rural teachers’ acceptance of interactive white board-based ICT in Taiwan. Global Journal of Engineering Education, 13(2), 70-76.
Schrum, L & Levin, B. B, (2009). Leading 21st century schools: Harnessing technology for engagement and achievement. United States of America.