ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ที่มีต่อกระบวนการทำงานกลุ่ม วิชาศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
คำสำคัญ:
การเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู 5 ขั้นตอน, กระบวนการทำงานกลุ่มบทคัดย่อ
การวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบกระบวนการทำงานกลุ่มในวิชาศิลปะของนักเรียนชั้น ป.2 ก่อนเรียนและหลัง ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 steps) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นป. 2 จํานวน 45 คน ได้รับการสอนจำนวน 18 ครั้ง ๆ ละ 50 นาที เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนจัดการเรียนรู้ เรื่องศิลปวิจารณ์ สําหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 2 2) แบบวัดกระบวนการทำงานกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติสอบค่าที (t-test for dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ที่มีต่อกระบวนการทำงานกลุ่มวิชาศิลปะ ด้านการกำหนดจุดมุ่งหมาย การวางแผน การปฏิบัติงาน การประเมินผลและการปรับปรุงล้วนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยสัมฤทธิ์ผล 5 ขั้นตอน ที่มีต่อกระบวนการทำงานกลุ่มวิชาศิลปะมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2) พฤติกรรมกระบวนการทำงาน ก่อนและหลังเรียน พบว่าพฤติกรรมกระบวนการทำงานกลุ่มวิชาศิลปะการทำงานของทุกกลุ่ม โดยรวมทุกรายการมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนอยู่ในระดับดี
References
กรมวิชาการ. (2543). คู่มือการพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานการศึกษา : การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร.
กำพู เลิศปรีชากมล. (2544). การใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จันทร์จิรา พีระวงศ์. (2553). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทิศนา แขมมณี. (2545). กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการทำงานและการจัดการเรียนการสอน. นิชินแอดเวอร์ไทซิ่ง กรู๊ฟ.
นภาพร กล้าเมืองกลาง. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่มี ต่อทักษะการจัดการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิรมล มาลัย. (2554). จิตสาธารณะและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สอนโดยการเสริมกิจกรรมพัฒนาจิตสาธารณะ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปนัดดา ธนันท์ภิรพงศ์. (2556). การศึกษาปัจจัยบางประการที่มีผลต่อทักษะการทำงานกลุ่มของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษา-สสศท, 4(7), 180-188.
ประเทิน มหาขันธ์. (2531). ศิลปะในโรงเรียนประถม. โอเดียนสโตร์.
ประภัสสร ทิพย์สงเคราะห์. (2557). การออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในห้องกิจกรรม การเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญา ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรี ผลโยธิน. (2542). เรียนรู้แบบร่วมมือช่วยลูกให้มีความสุข. รักลูก.
พัชรินทร์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง. (2550). ศิลปะกับการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก. บจก.เอส พี วี การพิมพ์.
พิมลวรรณ์ จิตโตภาษา. (2557). ผลของการใช้คำถามตามทฤษฎีของบลูมที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอายุ 7 ปี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. (2545). แนวโน้มศิลปะร่วมสมัย รวมบทความและบทบรรยาย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เลิศ อานันทะ. (2549). แนวคิดเกี่ยวกับศิลปศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิรัตน์ พิชญไพบูลย์. (2531). ศิลปะในโรงเรียนประถม. ไทยวัฒนาพานิช.
วัฒนา ระงับทุกข์. (2543). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. วัฒนาพานิช .
วนัสนีย์ มณีทิพย์. (2549). ผลของการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อความสามารถในการนำความรู้วิชาวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศารทูล อารีวรวิทย์กุล. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และการคิดอย่างมี วิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมพร ทรัพย์สวัสดิ์. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน Video Integration Project (VIP) สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรังสิต.
Morrison, K. (2012). Integrate science and arts process skills in the early childhood curriculum. Dimensions of early childhood, 40(1), 31.
Richard A. Schmuck. (1997). Group processes in the classroom. The McGraw Hill Companies