การพัฒนาการสอนด้วยการใช้แผนผังกราฟิกเพื่อสร้างความเข้าใจและความคงทนในการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ศิลป์สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • มนตรี วรารักษ์สัจจะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ประวัติศาสตร์ศิลปะ, ผู้จัดกราฟิก, การเก็บรักษาการเรียนรู้, ความเข้าใจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์โดยการใช้แผนผังกราฟิก ที่สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคงทนและความเข้าใจในการเรียนรู้ สำหรับใช้ในการสอนวิชาในรายวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ ในระดับอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ได้แก่ นิสิตที่กำลังศึกษายู่ในชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2558 สาขาวิชาศิลปศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ผังกราฟิก 2) สื่อการสอนที่ใช้แผนผังกราฟิก 3) แบบทดสอบก่อนเรียน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน 5) แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังจากผู้เรียนใช้สื่อการเรียนการสอนที่เป็นผังกราฟิกในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์แล้ว เกิดความคงในการเรียนรู้เมื่อเวลาผ่านไป 2 สัปดาห์ และเกิดความเข้าใจสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) จากค่าเฉลี่ยพบว่าความคิดเห็นของผู้เรียนมีระดับความคิดเห็นในด้านที่มากที่สุด ได้แก่ 1.ช่วยให้ลำดับเหตุการณ์ต่างๆได้ง่ายขึ้น 2.ช่วยให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น และ 3.ช่วยให้สรุปข้อมูลได้ง่ายขึ้น ส่วนความคิดเห็นที่มีระดับความคิดเห็นน้อยที่สุดคือ ช่วยให้จดบันทึกได้ง่ายขึ้น 3) พฤติกรรมของผู้เรียนระหว่างการเรียนในแผนการจัดการเรียนรู้นั้น พบว่า ผู้เรียนมีพฤติกรรมการจดจ่อกับสื่อ การตั้งคำถาม และการตอบคำถาม ในระดับปานกลาง เนื่องจากเป็นสภาพปกติของผู้เรียนในกลุ่มตัวอย่าง และมีพฤติกรรมการจดบันทึกและมีการอภิปรายร่วมกันน้อย

References

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2554). ศิลปะสมัยใหม่. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิภากร ธาราภูมิ. (2555). การศึกษารูปแบบการสอนของผู้เชี่ยวชาญวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ในระดับอุดมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม้ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประไพลิน จันทร์หอม (2547). ผลการสอนวิชาสุนทรียภาพของชีวิตโดยใช้เทคนิคการจัดผังมโนทัศน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสถาบันราชภัฎเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปารณีย์ ด้วงอิ่ม. (2553). ผลของการสอนออกแบบทัศนศิลป์โดยใช้แผนผังกราฟิกที่มีต่อผลการเรียนรู้ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์. (2561). จิตวิทยาศิลปะ : สุนทรียศาสตร์เชิงประจักษ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พิริยะ ไกรฤกษ์. (2544). อารยธรรมไทย พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ. อมรินทร์พิ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. (2545). ศิลปศึกษาแนวปฏิรูป (พิมพ์ครั้งที่2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิรัตน์ พิชญไพบูลย์. (2528). ความเข้าใจศิลปะ. ไทยวัฒนาพานิช.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2558). แนวทาง (ใหม่) ของการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ศิลปะ. http://vcharkarn.com/varticle/91
สาวิตรี บุตรเล็ก. (2548). ทรรศนะของผู้เชี่ยวชาญกับการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ ตามแนวคิดแบบวิจารณญาณในสาขาทัศนศิลป์ ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัศนีย์ ชูอรุณ. (2530). ประวัติศิลปะตะวันตก. โอเดียนสโตร์.
แอมโบรซ. (2556). How Learning Works การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 7 หลักการสร้างนักเรียนรู้แห่ง อนาคตใหม่. โอเพ่นเวิร์ด.
อำไพ ตีรณสาร. (2558). วิธีการสอนศิลปศึกษา. http://pioneer.chula.ac.th/~tampai1/ampai/cont3.htm

Atkinson, R. C., & Shiffrin, R. M. (1968). Chapter: human memory: a proposed system and its control processes. The psychology of learning and motivation, 2, 89–195.
Drapeau, P. (2009). Differentiating with Graphic Organizers. Corwin Press.
Hyerle, D., (2009). Visual Tools for Transforming Information into Knowledge. California.
Hueneburg, K. (2016) A History of Art Education at Illinois State University. Illinois State University.
Marcia, P. (2014). History of Art A student’s handbook Fifth Edition. Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-17

How to Cite

วรารักษ์สัจจะ ม., & พิชญไพบูลย์ ป. . (2021). การพัฒนาการสอนด้วยการใช้แผนผังกราฟิกเพื่อสร้างความเข้าใจและความคงทนในการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ศิลป์สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 16(2), OJED1602044 (15 pages). สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/253305