การศึกษาระดับความพร้อมของการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษา ในระดับประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
สะเต็มศึกษา, ความพร้อม, การจัดการเรียนการสอน, ประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษาระดับประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ในด้านการเตรียมการสอน การจัดการเรียนการสอน และด้านการประเมินผล โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกับครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ของแต่ละโรงเรียน โรงเรียนละ 3 คน จำนวน 128 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 384 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ครูส่วนใหญ่มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษาระดับน้อยทั้ง 3 ด้าน (M = 2.88) เมื่อจำแนกระดับความพร้อมในด้านต่าง ๆ พบว่า ครูส่วนใหญ่มีความพร้อมด้านการวัดและประเมินผลมากที่สุด (M = 2.98) รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน (M = 2.80) และด้านการเตรียมการสอน (M = 2.77) 2) เมื่อพิจารณาระดับความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษาตามสังกัดของโรงเรียน พบว่า มีระดับความพร้อมระดับน้อย (M = 2.78) โดยโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครมีระดับความพร้อมมากที่สุด (M = 2.87) รองลงมาคือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (M = 2.86) และสังกัดกรุงเทพมหานคร (M = 2.62) 3) เมื่อพิจารณาระดับความพร้อมครูผู้สอนทั้ง 3 วิชา พบว่า ครูส่วนใหญ่มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษาระดับน้อย (M = 2.78) พบว่า ครูวิทยาศาสตร์มีระดับความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนมากที่สุด (M = 2.91) รองลงมาคือ ครูคณิตศาสตร์ (M = 2.76) และครูคอมพิวเตอร์ (M = 2.67)
References
เครือศรี วิเศษสุวรรณภูมิ. (2554). ลีลาวิชาชีพครู. https://sites.google.com/site/lilawichachiphkhruteachingtips/
จิราภรณ์ วงษ์เกิด. (2556). ช่วงเวลาสำหรับการประเมินผลผู้เรียน. http://c4ed.lib.kmutt.ac.th/x-classroom/?p=470
จำรัส อินทลาภาพร. (2558). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปวีณา ธิติวรนันท์. (2550). จุดประสงค์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง. https://www.gotoknow.org/posts/89388
ประเทือง วิบูลย์ศักดิ์. (2552). หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. http://www.sahavicha.com/?name=blog&file=readblog&id=3141
ปราโมทย์ ป้องสุธาธาร. (2558). สวทน.ชี้แนวโน้มวิกฤตการขาดแรงงานด้านวิทยาศาสตร์ เหตุเพราะบัณฑิตสายวิทย์. http://www.most.go.th/main/index.php/news/pressrelease/3358-2014-03-29-10-17-04.html
ผู้จัดการออนไลน์. (2557). กทม.จัดกิจกรรมรวมพลังเยาวชนโตไปไม่โกง-มอบรางวัลผู้ร่วมขับเคลื่อน. http://www.manager.co.th/UpToDate/ViewNews.aspx?NewsID=9570000072601
พิมพันธ์ เดชะคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุข, และ ราเชน มีศรี. (2553). การสอนคิดด้วยโครงงาน:การเรียนการสอนแบบบูรณาการ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ มะณู. (2551). ความหมายของสื่อการสอน. https://www.gotoknow.org/posts/231415.
ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน:งานที่ครูประถมทำได้. สาฮะแอนด์ชันพริ้นติ้ง.
สงัด อุทรานันท์. (2529). การจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ. โรงพิมพ์มิตรสยาม.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). สะเต็มศึกษา. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). ส่องมุมมอง “สะเต็มศึกษา” สู่การนำไปใช้ในโรงเรียน. http://www.ipst.ac.th/web/index.php/news-and-announcements/activity/item/1404-2014-08-18-08-59-53
สุพิน บุญชูวงศ์. (2533). หลักการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). แสวงสุทธิการพิมพ์.
สาวิตรี บุญครอง. (2558). สะเต็มศึกษา พัฒนาครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี. http://www.opec.go.th/pharkic-lekhathikar/satemsuksaphathnakhruwithyasastrkhnitsastrlaeathekhnoloyi
สุธาสินี เสลานนท์. (2555). วิพากษ์ปรากฎการณ์ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ไทย โดย ทอม คอร์คอแรน. http://www.qlf.or.th/Home/Contents/499
สีตีบีเดาะ ยูโซ๊ะ. (2553). รายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสอน 4 ขั้นตอน. http://www.thaigoodview.com/node/62166
สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2559). พิธีปิดการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการคณะทำงานผลิตต้นแบบบทเรียน Application. http://www.bangkokeducation.in.th/activity-details.php?id=2183
สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2556). โครงการพัฒนาทักษะนักเรียนด้วยสื่อการเรียนรู้. http://www.bangkokeducation.in.th/activity-details.php?id=383
สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2556). โครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านสื่อออนไลน์. http://www.bangkokeducation.in.th/activity-details.php?id=402
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2545). แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 9. http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=91
อารียา นะสานี. (2548). การศึกษาสภาพ ปัญหาและการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Moursund, D. (2009). Project-based learning : Using information technology. Vinod Vasishtha for Viva Books.