ผลการจัดกิจกรรมการเล่นแบบชี้แนะร่วมกับลูสพารตส์นอกห้องเรียน ที่มีต่อพฤติกรรมการเล่นแบบร่วมมือรวมพลังของเด็กอนุบาล
DOI:
https://doi.org/10.14456/ojed.2022.35คำสำคัญ:
การเล่นแบบชี้แนะ, ลูสพารตส์นอกห้องเรียน, การเล่นแบบร่วมมือรวมพลัง, เด็กอนุบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเล่นแบบชี้แนะร่วมกับลูสพารตส์นอกห้องเรียน ที่มีต่อพฤติกรรมการเล่นแบบร่วมมือรวมพลังของเด็กอนุบาลใน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การแบ่งปัน การเจรจาต่อรอง และการทำตามกฎกติกา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมการเล่นแบบชี้แนะร่วมกับลูสพารตส์นอกห้องเรียนกับ การจัดกิจกรรมกลางแจ้งแบบปกติมีต่อพฤติกรรมการเล่นแบบร่วมมือรวมพลังของเด็กอนุบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 48 คน ด้วยวิธีการจับฉลาก แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 24 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 24 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดพฤติกรรมการเล่นแบบร่วมมือรวมพลัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการเล่นแบบร่วมมือรวมพลังใน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การแบ่งปัน การเจรจาต่อรอง และการทำตามกฎกติกา สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการเล่นแบบร่วมมือรวมพลังสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05
References
กรมอนามัย. (2561). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560. บริษัท ซีจีทูล.
กองกิจกรรมทางกายพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือข้อแนะนำกิจกรรมทางกายและการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของเด็กสำหรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย. เอ็นซี คอนเซ็ปต์.
วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีรพงศ์ บุญประจักษ์. (2545). การจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านไทยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. [ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์. (2560). การสร้างวินัยสำหรับเด็ก. พลัสเพรส.
อรุณี หรดาล. (2563). สอนอย่างไรให้เด็กปฐมวัยคิดเป็น. วารสารวไลอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(2), 211-228.
Casper, V., & Theilheimer, R. (2010). Early childhood education. McGraw-Hill.
Casey, T., & Robertson, J. (2019). Loose parts play: A toolkit (2nd ed.). Inspiring Scotland.
Charlesworth, R., & Lind, K. (2010). Math and science for young children. Thomson Delmar Learning.
Flannigan, C., & Dietze, B. (2017). Ideas from practice: Children, outdoor play, and loose parts. Journal of Childhood Study, 42(4), 53-60.
Jin, M., & Moran, M. J. (2021). Chinese and US preschool teachers’ beliefs about children’s cooperative problem-solving during play. Journal of Early Childhood Education, 49, 503-513.
Kennedy, A. (2009). Let’s talk! have meaningful conversations with children. Putting Children First, (32), 11-13.
McClintic, S. (2014). Loose parts: Adding quality to the outdoor environment. Texas Child Care quarterly, 38(3), 16-20.
Nicholson, S. (1971). How not to cheat children: The theory of loose parts. Landscape Architecture, 62, 30–34.
Paley, V. G. (1990). The boy who would be a helicopter. Harvard University Press.
Robson, S., & Rowe, V. C. (2012). Observing young children's creative thinking: Engagement, involvement and persistence. Journal of Early Years Education, 20(4), 349-364.
Scott, H. K., & Cogburn, M. (2020). Peer play. StatPearls.
Shim, S., Herwig, J. E., & Shelley, M. (2001). Preschoolers' play behaviors with peers in classroom and playground settings. Journal of Research in Childhood Education, 15(2), 149-163.
Svetlova, M., Nichols, S. R., & Brownell, C. A. (2010).Toddlers’ prosocial behavior: From instrumental to empathic to altruistic helping. Child Development, 81, 1814–1827.
University of Gothenburg. (2010, June 24). Young children are skilled negotiators, Swedish research finds. ScienceDaily. www.sciencedaily.com/releases/2010/06/100621101206.htm
Weisberg, D. S., Hirsh-Pasek, K., & Golinkoff, R. M. (2013). Guided play: Where curricular goals meet a playful pedagogy. Mind, Brain and Education, 7(2), 104-112.
Weisberg, D. S., Hirsh-Pasek, K., Golinkoff, R. M., Kittredge, A. K., & Kittredge, D. (2016). Guided play: Principles and practices. Current Directions in Psychological Science, 25(3), 177- 182.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.