การสร้างวัฒนธรรมของคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • ปุณยพล จันทร์ฝอย
  • ตีรวิชช์ ทินประภา

คำสำคัญ:

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์, ปัญหาเป็นฐาน, วิจัยเป็นฐาน, การเรียนรู้แบบเชิงรุก, วัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นการสรุปผลที่ได้จากงานวิจัยเกี่ยวกับการสร้างวัฒนธรรมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับปริญญาตรี โดยเน้น 3 คุณลักษณะ ได้แก่
1. ด้านการเป็นผู้เรียนรู้ ฉลาดรู้ และมีปัญญา 2. ด้านการเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม และ3. ด้านการเป็นผู้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ โดยการสร้างคุณลักษณะทั้ง 3 ด้านนี้ ได้ดำเนินการทำงานวิจัยย่อยทั้งหมด 3 เรื่องซึ่งมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในการสร้างวัฒนธรรมคุณลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้ ในด้านการเป็นผู้เรียนรู้ ฉลาดรู้ และมีปัญญาจะใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based-Learning) สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 3  ด้านการเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 และด้านการเป็นผู้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-Based-Learning) สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ชั้นปีที่ 5 โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 1 ภาคเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสามารถสร้างให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 เกิดคุณลักษณะด้านการเป็นผู้เรียนรู้ ฉลาดรู้ และมีปัญญา ในระดับดี  2. การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกสามารถสร้างให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 เกิดคุณลักษณะด้านการเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมสูงขั้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานสามารถสร้างให้นักศึกษาชั้นปีที่ 5 เกิดคุณลักษณะด้านการเป็นผู้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในระดับดี

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2552.

ณัฐพร เอี่ยมทอง. “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยรูปแบบ Problem-based Learning กับรูปแบบการสอนปกติ.” วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560.

นภดล กมลวิลาศเสถียร. เทคนิคช่วยให้ลูกเก่งคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี จำกัด, 2550.

ปิยรัตน์ จาตุรันตบุตร. หลักการคณิตศาสตร์ = Principles of mathematics. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.

พิจิตร อุตตะโปน. “ชุดการเรียนการสอนโดยใชปญหาเปนฐาน เรื่อง การคิดวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.” ปริญญานิพนธ, การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2550.

วรพงศ์ ไชยฤกษ์. “ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยร่วมสมัยและการรู้สารสนเทศของนักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยการใช้เทคนิคการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก.” วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1 (1) (ม.ค.-มิ.ย.), 2558, (77-95).

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และ

สาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562. กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา, 2562.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. รายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, 2562.

Healey, M. Linking research and teaching: Exploring disciplinary spaces and the role of inquiry-based learning. In Reshaping the University: New relationships between research, scholarship and teaching. R. Barrett (Ed.), pp. 67-78. Columbus, OH: McGraw Hill, 2005.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2024

How to Cite

จันทร์ฝอย ป. ., & ทินประภา ต. . (2024). การสร้างวัฒนธรรมของคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารศิลปวัฒนธรรมสวนสุนันทา, 4(1), 93–109. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/artsjournal_ssru/article/view/275103