ประสิทธิภาพการถัวเฉลี่ยต้นทุนโดยใช้อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุนในกองทุนรวม

ผู้แต่ง

  • พงษ์สุทธิ พื้นแสน คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สันติ เซียวศิริกุล คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุรชัย จันทร์จรัส คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พลอยไพลิน กิจกสิวัฒน์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

กองทุนรวม , การถัวเฉลี่ยต้นทุน , การลงทุนแบบซื้อครั้งเดียว

บทคัดย่อ

การถัวเฉลี่ยต้นทุนเป็นกลยุทธ์การลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่มีเวลาและความเชี่ยวชาญในการลงทุน โดยมีหลักการซื้อหน่วยลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่าๆ กัน โดยไม่คำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงของตลาด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลตอบแทนจากการลงทุนด้วยวิธีถัวเฉลี่ยต้นทุนโดยใช้อัตราผลตอบแทนภายในเปรียบเทียบกับผลตอบแทนจากการลงทุนแบบซื้อครั้งเดียว พร้อมทั้งศึกษาประสิทธิภาพการบริหารกองทุนผ่านมาตรวัดดัชนี Sharpe Ratio, Treynor Ratio และ Jensen’s Alpha ผลการศึกษาทั้งกลุ่มกองทุนรวมธรรมดาและกองทุนรวมที่ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีพบว่าการลงทุนแบบซื้อครั้งเดียวให้อัตราผลตอบแทนในทิศทางเดียวกับดัชนีผลตอบแทนรวมของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของวิธีถัวเฉลี่ยต้นทุนจะขึ้นอยู่กับแนวโน้มของราคาหน่วยลงทุนที่ถูกกำหนดวันซื้อไว้ล่วงหน้าและจังหวะเวลาของตลาดมากกว่าระยะเวลาที่ลงทุน อย่างไรก็ดี กลยุทธ์การลงทุนแบบการถัวเฉลี่ยต้นทุนในกองทุนที่มีประสิทธิภาพสามารถให้อัตราผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงจากการลงทุนในระยะยาวเนื่องจากความถี่การลงทุนที่มากขึ้น

References

จิรัตน์ สังข์แก้ว. (2547). การลงทุน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชูชีพ พิพัฒน์ศิถี. (2540). เศรษฐศาสตร์การวิเคราะห์โครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). Your First Stock. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2562, จาก Yuanta เว็บไซต์: https://www.set.or.th/yourfirststock/pdf/dca.pdf.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). ราคาดัชนีผลตอบแทนรวม. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2562, จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เว็บไซต์: https://www.set.or.th/th/market/tri.html.

นภัสนันท์ บรัศไพบูลย์ และสุรชัย จันทร์จรัส. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการดำเนินงานของกองทุนรวมในประเทศไทยและอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยโดยเปรียบเทียบกับความเสี่ยง. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(1), 41-50.

สมาคมบริษัทจัดการกองทุน. (2560ก). ดัชนีอ้างอิงมาตรฐาน. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2562, จากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน เว็บไซต์: http://oldweb.aimc.or.th/performance.html.

สมาคมบริษัทจัดการกองทุน. (2560ข). มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของอุตสาหกรรมจัดการลงทุนเทียบกับมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดหลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562, จากการจัดการการเงิน การลงทุน การศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ เว็บไซต์ http://oldweb.aimc.or.th/24_overview_detail.php?nid=34&subid=0&ntype=1.

สรศาสตร์ สุขเจริญสิน และปริยดา สุขเจริญสิน. (2556). ความสม่ำเสมอของผลการดำเนินงานของกองทุนรวมตราทุนในประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 7(2), 102-132.

Brennan, M. J., Li, F., & Torous, W. N. (2005). Dollar cost averaging. Review of Finance, 9(4), 509-535.

Constantinides, G. M. (1979). A note on the suboptimality of dollar-cost averaging as an investment policy. Journal of Financial and Quantitative Analysis, 14(2), 443-450.

Dichtl, H., & Drobetz, W. Dollar-cost averaging and prospect theory investors: An explanation for a popular investment strategy. Journal of Behavioral Finance, 12(1), 41-52.

Himawan, A. (2010). Daily portfolio investment return analysis with dollar cost averaging method. Business and Entrepreneurial Review, 9(2), 151 -163.

Lai, H. C., Tseng, T. C., & Huang, S. C. (2016). Combining valueaveraging and bollinger band for an ETF trading strategy. Applied Economics, 48(37), 3550-3557.

Leggio, K. B., & Donald, L. (2001). Does loss aversion explain dollar-cost averaging? Financial Services Review, 10(1-4), 117-127.

Marshall, P. S. (2000). A Statistical comparison of value averaging vs dollar cost averaging and random investment techniques. Journal of Financial and Strategic Decisions, 13(1), 87-99.

Paglia, J. K., & Xiaoyang, J. (2006). Implementing a dollar cost averaging investment strategy: Does the date of the month matter? The Journal of Wealth Management, 9(2), 54-62.

Panyagometh, K., & Zhu, K. X. (2016). Dollar-cost averaging, asset allocation, and lump sum investing. The Journal of Wealth Management, 18(4), 75-89.

Shtekhman, A., Christos, T., & Brian, W. (2012). Dollar-cost averaging just means taking risk later. Retrieved February 10, 2020, from Vanguard research Website: https://passiveinvestingaustralia.com/downloads/Dollar-Cost-Averaging-Just-Means-Taking-Risk-Later-Vanguard.pdf.

Wu, Y. L., Yang, P. C., & Lin, J. Y. (2009). The study of the rate of returns' difference for local funds' dollar-cost averaging three times per month. Journal of Information and Optimization Sciences, 30(4), 779-798.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23

How to Cite

พื้นแสน พ. ., เซียวศิริกุล ส., จันทร์จรัส ส. ., & กิจกสิวัฒน์ พ. . (2022). ประสิทธิภาพการถัวเฉลี่ยต้นทุนโดยใช้อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุนในกองทุนรวม. วารสารบริหารธุรกิจและการจัดการปริทัศน์, 14(2), 60–75. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bahcuojs/article/view/241569