ผลกระทบของการกำกับดูแลกิจการต่อผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมบริการ

ผู้แต่ง

  • จักรพันธ์ วงษาเทพ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นงค์นิตย์ จันทร์จรัส คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชมัยพร คำภามูล คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การกำกับดูแลกิจการ, ผลการดำเนินงานของบริษัท, บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการกำกับดูแลกิจการต่อผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมบริการ โดยใช้ข้อมูล
ย้อนหลัง 4 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2558-2561 จากฐานข้อมูล SETSMART: SET Marketing Analysis and Reporting Tool และ Datastream ของกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ จำนวน 92 บริษัท สถิติที่ใช้ศึกษา คือ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับผลการดำเนินงาน ตัวแปรอิสระที่ใช้ ประกอบด้วย สัดส่วนของคณะกรรมการอิสระ จำนวนของคณะกรรมการบริษัท จำนวนครั้งของการประชุมคณะกรรมการของบริษัทใน 1 ปี การควบรวมตำแหน่งประธานกรรมการกับประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการในคนเดียวกัน และปีที่ใช้หลักการกำกับดูแลกิจการ ตัวแปรตาม คือ ผลการ
ดำเนินงานของบริษัท ได้แก่ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ จากผลการศึกษาพบว่า จำนวนครั้งของการประชุมคณะกรรมการของบริษัทใน 1 ปี มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับผลการดำเนินงานของบริษัททั้งนี้อาจเป็นเพราะจำนวนครั้งของการประชุมที่มากขึ้นอาจนำไปสู่ความขัดแย้งของความคิดเห็น การเสียเวลาในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ รวมทั้งภาระเบี้ยประชุมที่บริษัทต้องจ่ายให้คณะกรรมการ จึงอาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของลดลง

References

กฤษฎา เสกตระกูล. (2556). ตามรอยวิถีเซียนลงทุน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

กานดา พิศาลปีติ. (2558). ผลกระทบเชิงสาเหตุระหว่างการกำกับดูแลกิจการและผลการดําเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 11(3), 5-16.

ฆณาการ ปุปะระ, ฤกษ์ชัย ฟูประทีปศิริ และณธภร กัญนราพงษ์. (2559). ปัจจัยการกำกับดูแลกิจการของบริษัทที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน โดยทำการศึกษาในกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 5(1), 34-42.

จิตอุษา ขันทอง และกัลยกิตติ์ กีรติอังกูร. (2560). การกำกับดูแลกิจการกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 8(2), 42-54.

ณรงค์ศักดิ์ อินต๊ะไชยวงค์. (2555). ผลกระทบของการกำกับดูแลกิจการต่อผลการดำเนินงานของบริษัท กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐชยา สืบอ่อน และประยูร โตสงวน. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการ กับผลการดำเนินงานของบริษัท กรณีศึกษา บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100. เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์, 11(2), 165-182.

ณิชนันท์ จันทรเขตต์. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับผลการดําเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียน

ปี พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2562, เว็บไซต์ https://www.sec.or.th/cgthailand/TH/Documents/Regulation/CGCode.pdf

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2561ก). การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

. (2561ข). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2562, เว็บไซต์ https://www.sec.or.th/mpublish/cgcode/home_th.html

. (2562). รายงานการกำกับดูแลกิจการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปี 2561. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ธัญญา ฉัตรร่มเย็น. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET100. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นภาพร จักรวาลกุล. (2559). ผลกระทบการกำกบดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อระดับรายงานความยั่งยืนของกิจการ. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ยุวดี เครือรัฐติกาล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการกับตัวชี้วัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 11(1), 41-50.

วิจิตรา จำลองราษฎร์. (2561). ความสัมพันธ์ของการกำกับดูแลกิจการ ความเสี่ยงในการล้มละลายและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 12(1), 60-81.

อาจารีย์ ประจวบเหมาะ, ประยงค์ มีใจซื่อ, ชาคริต สกุลอิสริยาภรณ์ และศุภสิทธิ์ จารุพัฒน์หิรัญ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างคณะกรรมการบริษัทกับผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(ฉบับพิเศษ), 124-141.

Bonna, A. K. (2012). The Impact of Corporate Governance on Corporate Financial Performance. Doctoral Dissertation, Walden University.

Ekadah, J.W., & Mboya, J. (2012). Effect of Board Gender Diversity on the Performance of Commercial Banks in Kenya. European Scientific Journal, 8(7), 128-148.

Ghabayen, M.A. (2012). Board Characteristics and Firm Performance: Case of Saudi Arabia. International Journal of Accounting and Financial Reporting, 2(2), 131-168.

Mahrani, M., & Soewarno, N. (2018). The Effect of Good Corporate Governance Mechanism and Corporate Social Responsibility on Financial Performance with Earnings Management as Mediating Variable. Asian Journal of Accounting Research, 3(1), 41-60)

Sanchia, M.I., & Zen, T.S. (2015). Impact of Good Corporate Governance in Corporate Performance. International Journal of Management and Applied Science, 1(9), 102-106.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-09

How to Cite

วงษาเทพ จ. ., จันทร์จรัส น. ., & คำภามูล ช. . (2023). ผลกระทบของการกำกับดูแลกิจการต่อผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมบริการ . วารสารบริหารธุรกิจและการจัดการปริทัศน์, 14(2), 474–489. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bahcuojs/article/view/242411