การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านโพธิ์ศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ สุขพิทักษ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการจัดความรู้ของครู และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส 2) เพื่อประยุกต์ใช้รูปแบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management Model) ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน วิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 3) ศึกษาผลการใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการ ความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนบ้านโพธิ์ศรี 4) ศึกษาความพึงพอใจของครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการจัดการความรู้

การวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ 1) สำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการการจัดการความรู้ของครูและ บุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการความรู้เพื่อกาหนดกระบวนการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ขยายโอกาส 3) ดำเนินการตามวงจรการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยการกระทำซ้ำ 2 วงรอบ นำไปทดลองใช้ กับครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านโพธิ์ศรีในปีการศึกษา 2554 ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 2 คน ข้าราชการครู 20 คน พนักงานราชการ 2 คน ลูกจ้างประจำ 1 คน ลูกจ้างชั่วคราว 1 คน รวมทั้งสิ้น 26 คน ในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ เครื่องมือเครื่องใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) แบบบันทึกการเทียบเคียง 3) แบบบันทึก การปฏิบัติที่ดีเลิศ 4) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน และความต้องการการจัดการความรู้ในโรงเรียน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 มีการดำเนินการจัดการความรู้ โดยภาพรวมมีการดำเนินการในระดับปานกลาง และบุคลากรมีความต้องการให้โรงเรียนดำเนินการจัดการความรู้ในโรงเรียน โดยภาพรวมมีความต้องการใน ระดับมาก 2) การประยุกต์ใช้รูปแบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ในองค์การโดย กำหนด กระบวนการจัดการความรู้เป็น 6 ขั้นตอน คือ การกำหนดความรู้ การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การจัดเก็บ ความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ และการนำความรู้ไปใช้ นำไปดำเนินการตามวงจรการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAOR) ตามแนวคิดของ Kemmis and McTaggart (1988) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นร่วมวางแผน (Planning) ขั้นร่วมลงมือปฏิบัติ (Acting) ขั้นร่วมสังเกตผล (Observing) และขั้นร่วมสะท้อนผล (Reflecting) 3) ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนจากผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2553 เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 8.91 และ 3.32 ตามลำดับ ความรู้ความเข้าใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการจัดการความรู้ก่อนและหลังการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ความพึงพอใจของครูและ บุคลากรทางการศึกษาต่อการใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมาก

 

Participation Action Research of Development Knowledge Management to Improve Academic Management Efficiency of Extended Opportunity School: A Case Study at Banphosri School Under Jurisdiction of the Office of Primary Educational Ubon Ratchathani Service Area 3

This study aimed to : 1) study the current conditions and wants of the personnel of Extended Opportunity School on knowledge management 2) use a knowledge management model to improve academic management efficiency of extended opportunity school, 3) study result of the use of the knowledge management model to improve academic management efficiency of extended opportunity school and 4) study teachers’ satisfaction towards the use of knowledge management.

The present research consisted of three stages: stage one was inquire on the current conditions and wants for the school knowledge management.; stage two was concerned with the concepts, theories and related research of knowledge management and applying knowledge management process to improve academic management efficiency of extended opportunity school, stage three was concerned with a participation research. The target area was Ban Phosri School under Jurisdiction of the office of primary education Ubon Ratchathani service area 3 in the academic year 2011. The target groups included 2 school administrators, 20 teachers, 2 staff, 1 permanent employee and 1 employee. The research instruments comprised 1) structured interviews, 2) records, 3) records of excellent implementation, 4) questionnaire created by the researcher. Data were gathered by means of observing, asking and interviewing. Data gained were validated, interpreted and reflected in each circuit. The qualitative data were analyzed by an interpretative method. The quantitative data were analyzed by a descriptive method. Statistics used were mean, standard deviation, and t-test.

The study found that : 1) As for the current conditions in Ban Phosi School, knowledge management was moderate. The personnel’s wants for the school knowledge management were overall at a high level. 2) The researcher first application a knowledge management process comprised six steps ; provided facilities and implemented the learning process by indicating knowledge, constructing and pursuing knowledge, systematizing, transferring, exchanging, and applying knowledge, to improve academic management efficiency by the participatory action research (PAR) process, conceptual framework of Kemmis and McTaggart (1988) comprised 4 steps ; planning, acting, observing, and reflecting was implemented 2 cycle. 3) Primary grades 6 and secondary grades 3 students’ achievement on the result of national test (O-NET) in academic year 2011 compare with academic year 2010 increased by average means of 8.91 and 3.32 respectively. The teachers’ knowledge about knowledge management process before and after the experiment significantly increased at level .01. 4) The level of teachers’ satisfaction towards the use of participatory action research of Knowledge management process was at high level.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)