Reputation for Ethical Leadership

Main Article Content

Duangporn Arbhasil

Abstract

The focus of this study is the investigation of moral leadership theories to detect whether their components can support the “reputation for ethical leadership.” Five moral leadership theories in this study include: authentic leadership theory, ethical leadership theory, spiritual leadership theory, servant Leadershiptheory, and transformational leadership theory. The “reputation for ethical leadership” in this study is meant to comprise a “moral person” pillar and a “moral manager” pillar. The former pillar denotes the person having moral traits, moral behaviors and moral decisions whereas the latter pillar indicates the person being an ethical role model and communicating this to others in the organization. Those who are high in these two pillars will have high “reputation for ethical leadership.” The analysis and synthesis of fi ve moral theories in comparison with the basis of “reputation for ethical leadership” shows that the ethical leadership theory emphasizes both pillars and leaders from this theory should have higher “reputation for ethical leadership” than leaders from other moral leadership theories. In addition, most of moral leadership theories are found to emphasize more on “moral manager” than on “moral person” pillar and leaders according to these theories may hence be reputed either as “hypocritical” or “ethically neutral.” The hypocritical leaders are high in “moral manager” and low in “moral person” pillar whereas the ethically neutral leaders are low in “moral manager” pillar regardless of their “moral person” aspects. In order to increase the “reputation for ethical leadership,” the moral values of leadership need to be clearly specified and the leaders behave in accord with the moral values that meet acceptable ethical standards.


ชื่อเสียงในการเป็นภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม

การศึกษานี้มุ่งประเด็นไปที่ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในแง่การมีองค์ประกอบที่สนับสนุนหรือสอดคล้องกับการมี “ชื่อเสียงในการเป็น ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม” หรือไม่เพียงใด โดยมีทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมที่ศึกษารวม 5 ทฤษฎี ประกอบด้วย ทฤษฎีภาวะผู้นำที่แท้จริง ทฤษฎีภาวะผู้นำทางจริยธรรม ทฤษฎีภาวะผู้นำทางจิตวิญญาณ ทฤษฎีภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ และทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลง สำหรับ “ชื่อเสียงในการเป็นภาวะผำนำเชิงจริยธรรม” ในการศึกษานี้หมายถึง การที่ผู้อื่นรับรู้ว่าผู้นำเป็นทั้ง “บุคคลที่มีจริยธรรม” คือมีคุณลักษณะ พฤติกรรมและการตัดสินใจในเชิงจริยธรรม และเป็น “ผู้บริหารที่มีจริยธรรม” คือมีพฤติกรรมที่เป็นแบบอย่างและสื่อให้บุคคลอื่นทราบถึงจริยธรรมของตน ถ้าผู้นำเป็น “บุคคลที่มีจริยธรรม” และเป็นผู้บริหารที่มีจริยธรรม” ในระดับสูง ก็จะมี “ชื่อเสียงในการเป็นภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม” สูงด้วย จากการวิเคราะห์สังเคราะห์เปรียบเทียบทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมกับ “ชื่อเสียงในการเป็นภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม” ซึ่งใช้เป็นแกนสำหรับเปรียบเทียบพบว่า ทฤษฎีภาวะผู้นำทางจริยธรรม มีองค์ประกอบที่เน้น ทั้งเสาหลักด้าน “บุคคลที่มีจริยธรรม” และด้าน “ผู้บริหารที่มีจริยธรรม” ผู้นำตามทฤษฎีดังกล่าวจึงน่าจะมี “ชื่อเสียงในการเป็นภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม” สูงกว่าผู้นำตามทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมอื่น นอกจากนี้ยังพบว่า ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมเกือบทั้งหมดมีองค์ประกอบที่เน้นไปทางเสาหลักด้าน  “ผู้บริหารที่มีจริยธรรม” นั่นคือ ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมที่ผู้นำเป็นแบบอย่างและสื่อถึงจริยธรรมมากกว่าการเป็น “บุคคลที่มีจริยธรรม” ดังนั้น ผู้นำจึงอาจจะมีชื่อเสียงเป็น “ผู้นำที่ตีสองหน้า ” ซึ่งหมายถึง ผู้นำที่สื่อถึงจริยธรรมสูงแต่เป็นบุคคลที่มีจริยธรรมต่ำหรือเป็นผู้นำที่เป็นกลางต่อจริยธรรม” ซึ่งหมายถึงผู้นำที่สื่อถึงจริยธรรมน้อยไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่มีจริยธรรมสูงหรือต่ำก็ตาม ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่ม “ชื่อเสียงในการเป็นภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม” ของทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม โดยภาพรวมเป็น การกำหนดค่านิยมทางจริยธรรมของผู้นำให้ชัดเจน และผู้นำมีพฤติกรรมที่สะท้อนถึงค่านิยมดังกล่าวซึ่งต้องได้มาตรฐานทางจริยธรรม

Article Details

How to Cite
Arbhasil, D. (2016). Reputation for Ethical Leadership. Executive Journal, 36(1), 48–61. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/executivejournal/article/view/81336
Section
Academic Articles