Journal Information
Publication Ethics
จริยธรรมและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ (Publication Ethics and Responsibilities)
- ผู้เขียนต้องไม่ตีพิมพ์บทความซ้ำซ้อนทั้งของตนเองและผู้อื่น
- ผู้เขียนต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมานั้น ไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนหรือยื่นต่อวารสารอื่นใดในคราวเดียวกัน เว้นแต่ไม่ผ่านการพิจารณาและได้รับการยืนยันผลจากกองบรรณาธิการแล้ว จึงจะสามารถนำมายื่นได้
- ผู้เขียนต้องไม่คัดลอกผลงานและข้อความของตนเอง (Self-plagiarism) รวมทั้งผลงานของผู้อื่นโดยทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า เป็นผลงานหรืองานเขียนของตนเอง โดยต้องมีการอ้างอิงผลงานของผู้อื่นและของตนเอง หากมีการนำผลงานนั้นมาใช้ในบทความของตนเอง
- ผู้เขียนต้องไม่สร้างข้อมูลเท็จ ปลอมแปลง และหรือตกแต่งข้อมูล และนำมาเขียนในบทความ
- ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการในบทความจริง การนำส่วนหนึ่งของงานวิจัยมาพัฒนาหรือวิเคราะห์ต่อยอดเป็นงานเดี่ยว ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ดำเนินการวิจัยร่วมทุกคน
- หากบทความวิจัยนั้น เป็นการวิจัยในคนหรือสัตว์ทดลอง ผู้เขียนต้องแนบหนังสือรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลองมาพร้อมกัน
- เนื้อหาของบทความต้องตรงตามวัตถุประสงค์และขอบข่ายของวารสาร
- ผู้เขียนไม่ควรนำเอกสารที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิง หรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง
- ผู้เขียนต้องเขียนบทความตามรูปแบบที่วารสารกำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ” และจะต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร และตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา
- ผู้เขียนต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนการทำวิจัยในต้นฉบับ
- ผู้เขียนต้องแจ้งบรรณาธิการทันทีหากพบความผิดพลาดในงานวิจัย ที่ส่งผลต่อผลการวิจัย/ ข้อค้นพบ และบทสรุปงานวิจัย ทั้งของต้นฉบับที่อยู่ในกระบวนการประเมิน หรือบทความที่ตีพิมพ์ไปแล้ว
- ผู้เขียนต้องไม่ระบุเล่มที่ฉบับที่เพื่อขอลงตีพิมพ์บทความ
จริยธรรม บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสาร (Ethics, Roles and Responsibility Editor)
- บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพบทความ เนื้อหาของบทความกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสารในเบื้องต้น และไม่รับตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว รวมทั้งไม่ใช้อคติในการพิจารณาบทความนั้น
- บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียน และของผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ โดยเฉพาะในช่วงของการประเมินบทความ
- บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง และให้ผลที่น่าเชื่อถือ
- บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนและผู้ประเมินบทความ
- บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) รวมทั้งผลงานของตนเอง (Self-plagiarism)
- บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารต้องเลือกผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความที่มีความ เชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความนั้น ๆ โดยผู้ทรงคุณวุฒินั้นต้องไม่มาจากหน่วยงานเดียวกันกับผู้เขียน ทั้งนี้เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น
- เมื่อบรรณาธิการตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น จะต้องระงับการประเมินและติดต่อผู้เขียน เพื่อพิจารณาตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์การตีพิมพ์
- หากบรรณาธิการและกองบรรณาธิการตรวจพบการคัดลอกผลงาน การลอกเลียนบทความอื่นโดยมิชอบ หรือมีการปลอมแปลงข้อมูล จะต้องแจ้งระงับการประเมิน และติดต่อผู้เขียนเพื่อแจ้งและปฏิเสธการตีพิมพ์ และแจ้งให้ผู้เขียนถอนบทความ หากผู้เขียนบทความปฏิเสธ บรรณาธิการและกองบรรณาธิการสามารถดำเนินการถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เขียน
จริยธรรม บทบาท และหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Reviewer Roles and Responsibilities)
- ผู้ประเมินบทความมีหน้าที่ประเมินบทความด้วยความเข้มข้นและให้เหตุผล ข้อเสนอแนะ หรือการวิพากษ์วิจารณ์บนฐานของวิชาการที่เป็นประโยชน์
- ผู้ประเมินบทความควรรับประเมินบทความเฉพาะสาขาวิชาหรือประเด็นที่ตนมีความเชี่ยวชาญ หากบทความมีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับความเชี่ยวชาญ ผู้ประเมินต้องแจ้งบรรณาธิการโดยเร็วเพื่อปฏิเสธการประเมิน
- ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบหากมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือนกัน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ
- ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อประโยชน์ของผู้เขียนบทความ
- ผู้ประเมินบทความต้องเก็บรักษาความลับด้วยการไม่เปิดเผยเนื้อหาของบทความแก่บุคคลอื่นๆ ในช่วงระยะเวลาของการประเมิน