การพัฒนาระบบการจัดอันดับชั้นความเสี่ยงพอร์ตสินเชื่อสหกรณ์การเกษตรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดอันดับชั้นความเสี่ยงพอร์ตสินเชื่อสหกรณ์การเกษตรสำหรับใช้บริหารความเสี่ยงในธุรกิจสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินภาคการเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย การศึกษาเริ่มด้วยการพัฒนาแบบจำลองโลจิท และแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม เพื่อระบุปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อความน่าจะเป็นที่จะผิดนัดชำระคืนหนี้ ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อความน่าจะเป็นที่จะผิดนัดชำระคืนหนี้ของสหกรณ์การเกษตร ได้แก่ อัตราส่วนทุนหมุนเวียน อัตราทวีคูณของส่วนผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ค่าลอการิทึมขนาดของปริมาณธุรกรรมรวม ค่าลอการิทึมขนาดของเงินที่ขอสินเชื่อ และผลการประเมินระดับชั้นคุณภาพจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์อยู่ในระดับ A หรือ B (เทียบกับสหกรณ์การเกษตรที่มีผลประเมินระดับชั้นคุณภาพต่ำกว่า B) ทั้งนี้แบบจำลองโลจิท และแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมได้ผ่านการทดสอบความน่าเชื่อถือถึงประสิทธิภาพในการพยากรณ์ค่าความน่าจะเป็นที่จะผิดนัดชำระคืนหนี้ และการจำแนกกลุ่มลูกหนี้ด้วยเทคนิคทางสถิติ ผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองโลจิท ถูกนำมาสร้างสมการพยากรณ์ความน่าจะเป็นที่จะผิดนัดชำระคืนหนี้ และระบบการจัดอันดับชั้นความเสี่ยง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงการนำเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมาบริหารความเสี่ยงพอร์ตสินเชื่อสหกรณ์การเกษตรของ ธ.ก.ส. เช่น การกระจายความเสี่ยง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แก่สหกรณ์การเกษตรตามค่าความเสี่ยงแต่ละสหกรณ์ การกำหนดโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้พอร์ตสินเชื่อ และการหาผลตอบแทนที่เหมาะสมของพอร์ตสินเชื่อสหกรณ์การเกษตรของ ธ.ก.ส.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธฺ์ของวารสารเกษตร มสธ.
ข้อความที่ปรากฎใน
References
Bank of Thailand. (2005). Circulated letter No.: ThorPorTor.SorGorSor.(03) Wor.227/2548 Re: Guideline for Risk Management Practices. Retrieved from http:// www2.bot.or.th/ fipcs/ Documents/FPG/2548/EngPDF/25480006.pdf
Bank of Thailand. (2013). Supervisory Guideline on Capital Fund under Pillar I of Basel II capital Accord. Retrieved from http://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/Highlights/ baselIII/Documents/Basel_II_ III_AM.pdf
Glennon, D. (2006). Building and Validating Credit Rating and Scoring Models. Retrieved from www.occ.treas.gov/vcrsm/doc/session 1_Glennon.pdf
Suriya,K. (2005). Economic research with Neural Networks. [Lecture note]. Lecture at the Faculty of Economics, Chiang Mai University.
Tirapat,S. and Kiatsupaibul,S. (2008). Introduction to Credit Scoring. [Lecture note]. Special Lecture at the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives (Head office).
Vanichbuncha, K. (2007). Multivariate Analysis (2nd ed.). Bangkok: Thammasan Publishing Co.,Ltd.