เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ).
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ OpenOffice, Microsoft Word หรือ RTF
  • มีการให้ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16 pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt (ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้นิพนธ์ (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสมในบทความ ให้เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ

วารสารเกษตร มสธ.

template บทความวิจัย

template บทความวิชาการ

  1. ต้นฉบับ ตีพิมพ์บทความเป็นภาษาไทย การพิมพ์ใช้ตัวอักษร Angsana New ขนาดตัวอักษร 18 ตัวหนา ในส่วนของหัวข้อเรื่อง และขนาดตัวอักษร 16 ตัวปกติในส่วนของเนื้อหาในบทความ พิมพ์หน้าเดียวในกระดาษขนาด A4 เว้นขอบทั้ง 4 ด้าน 1 นิ้ว (2.5 ซม.) พร้อมระบุเลขหน้า ความยาวของเนื้อเรื่อง รวมรูปภาพ ตาราง และเอกสารอ้างอิงต้องไม่เกิน 10 หน้า
  2. ชื่อเรื่อง ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษควรกระชับและตรงกับเนื้อเรื่อง ขนาดตัวอักษร 18 ตัวหนา
  3. ชื่อผู้แต่ง และสถานที่ติดต่อ ต้องมีชื่อเต็ม-นามสกุลเต็มทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 15 ตัวหนา และระบุหน่วยงานหรือสถาบันที่สังกัด ของผู้แต่งหลักและผู้แต่งร่วมทุกคน และ E-mail address ของผู้แต่งหลักไว้ด้วย ขนาดตัวอักษร 12 ตัวปรกติ
  4. บทคัดย่อ (Abstract) บทความวิจัย/บทความทางวิชาการอื่นๆ จะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 15 บรรทัด โดยเขียนให้กะทัดรัด ตรงประเด็น และให้สาระสำคัญ
  5. คำสำคัญ (Keywords) ต้องมีคำสำคัญทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา อย่างละไม่เกิน 5 คำ โดยขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่
  6. เนื้อเรื่อง (ให้เขียนให้ถูกต้องตามหลักภาษาในบทความวิชาการ)

(1) คำนำ อธิบายความสำคัญของปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย อาจรวมการตรวจเอกสารเข้าไว้ด้วย ในการอ้างอิงเอกสารให้เขียนชื่อผู้แต่ง และปีที่ตีพิมพ์ อยู่ในวงเล็บเดียวกัน หรือเขียนชื่อผู้แต่ง แล้วเขียนปีที่ตีพิมพ์ ไว้ในวงเล็บแล้วแต่กรณี ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ดังนี้ “..........การปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่แห้งแล้งพบว่ามีการระบาดของโรคและแมลงในจังหวัดชลบุรี นครราชสีมา และมหาสารคาม (เพชร, 2554) นอกจากก่อความเสียหายกับมันสำปะหลังแล้วยังส่งผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังลดลง (Ratanawaraha et al., 2002)..........”

(2) อุปกรณ์และวิธีการ/วิธีดำเนินการวิจัย อธิบายเครื่องมือ พร้อมระบุวิธีการวิจัย วิธีการเก็บข้อมูล ระยะเวลาและปีที่ทำการวิจัย รวมทั้งวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ให้บรรยายโดยสรุปและไม่จำเป็นต้องระบุวิธีการที่เป็นที่รู้กันทั่วไป

(3) ผลการวิจัย ไม่จำเป็นต้องแสดงวิธีการวิเคราะห์ทางสถิติ แต่ให้เสนอผลการวิจัยที่มีความชัดเจนและกะทัดรัด การเสนอข้อมูลประกอบในรูปของตาราง (Table) และภาพ (Figure) ให้จัดทำเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด และมีหมายเลขกำกับด้านล่างของรูปภาพ/ตาราง

(4) การวิจารณ์ผลและสรุปประเด็นสำคัญ วิจารณ์ผลการวิจัย/บทความวิชาการ พร้อมทั้งสรุปประเด็น และสาระสำคัญของงานวิจัย/บทความวิชาการ

หมายเหตุ:   หน่วยวัดตามระบบต่างๆ ให้ใช้ตัวย่อตามมาตรฐานในการเขียนที่กำหนดไว้ เช่น  เซนติเมตร = ซม.  ตารางเมตร = ตร.ม.  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม = มก./กก.  แต่ถ้าเป็นหน่วยวัดที่มีพยางค์เดียวให้ใช้คำเต็มตามปรกติ เช่น เมตร  กรัม  ลิตร

(5) ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) ให้ข้อเสนอแนะบนพื้นฐานของผลการวิจัยหรือบทความวิชาการ

  1. กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) เพื่อแสดงความขอบคุณแก่ผู้ให้ทุนวิจัย หรือผู้ที่ได้ให้ความช่วยเหลือในการวิจัย
  2. เอกสารอ้างอิง รายชื่อเอกสารอ้างอิงให้ใช้หลักการเขียนตามรูปแบบของ APA

(http://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/masters/ฝสส/การอ้างอิงแบบ%20APA.pdf)