การพัฒนาภาคเกษตรและกฎหมายของประเทศไทยเพื่อรองรับหลักการลงทุนอย่างรับผิดชอบระบบเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ

Main Article Content

สุจิตรา รอดสมบุญ

บทคัดย่อ

การพัฒนาภาคเกษตรและกฎหมายของประเทศไทยเพื่อรองรับ “หลักการลงทุนอย่างรับผิดชอบระบบเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่างกฎหมายกับหลักการลงทุนอย่างรับผิดชอบระบบเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ และเพื่อเสนอการพัฒนาภาคเกษตรและกฎหมายของประเทศไทยเพื่อรองรับหลักการลงทุนอย่างรับผิดชอบระบบเกษตร วิธีการศึกษาโดยรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวกับการลงทุนด้านเกษตรและระบบอาหาร วิเคราะห์ SWOT และ TOWS จากนั้นนำทุกองค์ประกอบมาศึกษาร่วมกันเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะการพัฒนาภาคเกษตรและกฎหมายของประเทศไทยเพื่อรองรับหลักการลงทุนอย่างรับผิดชอบระบบการเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาและกลยุทธ์ของภาคเกษตรมีมิติต่างๆ เช่น การส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ การลงทุนและการร่วมทุนกับต่างประเทศ การพัฒนาภาคเกษตรเน้นอาหารปลอดภัย การส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อย การทบทวนการใช้กฎหมาย การพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตรตามมาตรฐานสากล การจัดการด้านแรงงาน การสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการรายเล็ก ความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน และการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร เมื่อนำมาศึกษาร่วมกับหลักการ RAI และกฎหมายของประเทศไทยจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารและหลักการทำการเกษตรที่ยั่งยืน ข้อเสนอแนะที่นำไปใช้ในการพัฒนาภาคเกษตรและกฎหมายของประเทศไทยให้สอดคล้องกับหลักการลงทุนอย่างรับผิดชอบระบบการเกษตรและอาหาร ประกอบด้วย ด้านกฎหมายในการรองรับนักลงทุนต่างชาติ ด้านการพัฒนาภาคเกษตร ด้านเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย 

Article Details

How to Cite
รอดสมบุญ ส. (2020). การพัฒนาภาคเกษตรและกฎหมายของประเทศไทยเพื่อรองรับหลักการลงทุนอย่างรับผิดชอบระบบเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ. วารสารเกษตร มสธ. (Online), 2(1), 16–37. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/stouagjournal/article/view/246597
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพาณิชย์. (2561). ศูนย์ความรู้เพื่อการค้าและการลงทุนกับจีน. สืบค้นจาก http://www.chineselawclinic. moc.go.th/
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2562a). จำนวนนิติบุคคลต่างชาติที่ลงทุนในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561. สืบค้นจาก https://www.dbd.go.th/index.php
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2562b). สัดส่วนการลงทุนจากต่างประเทศในสาขาเกษตรกรรมของไทย ปี พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก https://www.dbd.go.th/index.php
กรมการค้าระหว่างประเทศ. (2558). กฎหมายรายสาขาธุรกิจที่จำกัดการเข้าไปลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ. สืบค้นจาก http://www.dft.go.th/th-th/index/
กองความร่วมมือการลงทุนต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2557). สรุปภาวะการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทย ปี 2557. สืบค้นจาก https://www.boi.go.th/ upload/content/รายงานสรุปภาวะการลงทุนรายครึ่งปี%202557%20เดือนมกราคม-มิถุนายน _45422.pdf
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2557). จีนสนแปรรูปสินค้าเกษตร ผนึกไทยร่วมมือทางธุรกิจ. สืบค้นจาก http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/ 20140805/597044/จีนสนแปรรูปสินค้าเกษตร-ผนึกไทยร่วมมือทางธุรกิจ.html
คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. (2556). กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. 126 หน้า.
เติมธรรม สิทธิเลิศ. (2558). เขตเศรษฐกิจพิเศษไทย 5 จังหวัด 6 พื้นที่ เพื่อรองรับ AEC. สืบค้นจาก http://www.aseanthai.net
ทัศนีย์ เหมือนแก้ว. (2557). การวิเคราะห์หลักการลงทุนภาคการเกษตรอย่างรับผิดชอบ (Responsible Agriculture Investment: RAI) เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนโยบายรองรับการลงทุนภาคการเกษตรของประเทศไทย. รายงานนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า.
“พระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. ๒๕๒๒”. ใน ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 96 ตอนที่ 80 ฉบับพิเศษ วันที่ 14 พฤษภาคม 2522
“พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐”. ใน ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 94 ตอนที่ 38 ฉบับพิเศษ วันที่ 4 พฤษภาคม 2520
ศูนย์บริการข้อมูลเศรษฐกิจระหว่างประเทศ. (2557). การลงทุนที่รับผิดชอบในสาขาเกษตร: เส้นทางของไทย. สืบค้นจาก http://www.mfa.go.th/business/contents/files/cooperation-20120412-155815-782253.doc.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สานักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_ dl_link.php?nid=6422
Dunning, J.H. (1993). The Globalization of Business. London: Routledge. 467 p.
FAO. (2014). Principles for Responsible Investment in Agriculture and Food Systems. Retrieved from http://www.fao.org.
Fiedler, Y. & Karlsson, J. (2016). Home Country Measures that Promote Responsible Foreign Agriculture. Retrieved from http://www.fao.org/3/a-i5802e.pdf
Lall, S. & Streeten, P. (1977). Foreign Investment, Transnationals and Developing Countries. UK: Palgrave Macmillan. 280 p.
Vernon, R. (1996). International Investment and International Trade in the Product Life Cycle. The Quarterly Journal of Economics, 80(2); pp. 190-207.
World Trade Atlas. (2018). GIEWS - Global Information and Early Warning System. Retrieved from http://www.fao.org/giews/countrybrief/