การพัฒนาการดำเนินงานสหกรณ์การเกษตรเมืองหนองหาน จำกัด จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

อัษฎาพร พิบูลย์
ศิริลักษณ์ นามวงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลการดำเนินงานของสหกรณ์โดยใช้การประเมินผลแบบดุลยภาพ และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรเมืองหนองหาน จำกัด จังหวัดอุดรธานี ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) สมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองหนองหาน จำกัด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2562 จำนวน 2,962 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 352 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และ 2) คณะ กรรมการดำเนินการและฝ่ายจัดการ จำนวน 33 คน โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือในการศึกษาใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ประเมินผลการดำเนินงานของสหกรณ์โดยใช้การประเมินผลแบบดุลยภาพ ทั้ง 4 มุมมอง (1) ด้านการเงิน โดยการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน CAMELS เทียบกับอัตราส่วนสำคัญของสหกรณ์การเกษตรเฉลี่ยของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ข้อมูลปีบัญชี 2560-2562 พบว่า มิติที่ 1 ความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยงของสหกรณ์สูงกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 2 คุณภาพของสินทรัพย์โดยรวมสูงกว่าค่าเฉลี่ย มีอัตราการหมุนของสินทรัพย์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 3 ขีดความสามารถในการบริหารสูงกว่าค่าเฉลี่ย การเพิ่มขึ้นและลดลงของอัตราการเติบโตทางธุรกิจไม่แน่นอน มิติที่ 4 การทำกำไรของสหกรณ์โดยรวมสูงกว่าค่าเฉลี่ย อัตราการทำกำไรสูงกว่าค่าเฉลี่ย เงินออมต่อสมาชิกสูงกว่าค่าเฉลี่ย และอัตราหนี้สินต่อสมาชิกสูงกว่าค่าเฉลี่ย อัตราค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่ำกว่าค่าเฉลี่ย การเติบโตของทุนสูงกว่าค่าเฉลี่ย อัตรากำไรสุทธิสูงกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 5 สภาพคล่องทางการเงินของสหกรณ์โดยรวมสูงกว่าค่าเฉลี่ย แต่มีอัตราการหมุนของสินค้าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และอายุเฉลี่ยของสินค้าสูงกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 6 ผลการทบต่อธุรกิจ คู่แข่งทางด้านธุรกิจ นโยบายการช่วยเหลือด้านการเงินของรัฐ ระเบียบข้อบังคับที่เพิ่มใหม่ส่งผลต่อการบริหารงานของสหกรณ์ (2) ด้านลูกค้า พบว่า ความพึงพอใจของสมาชิกในฐานะของลูกค้าอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ด้านกระบวนการภายใน พบว่า ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการและฝ่ายจัดการอยู่ในระดับมาก (4) ด้านการเรียนรู้และพัฒนา พบว่า คณะกรรมการและฝ่ายจัดการมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของสหกรณ์ (1) ด้านการเงิน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องสหกรณ์ควรบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดรายได้มากที่สุด (2) ด้านลูกค้า เพื่อเพิ่มการพัฒนาที่ดีขึ้นสหกรณ์ควรเพิ่มด้านภาพลักษณ์ของสหกรณ์และตราสินค้า เช่น การจัดสถานที่ทำงานเพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วให้กับสมาชิก การจัดกิจกรรมเพื่อดูแลสุขภาพสมาชิก (3) ด้านกระบวนการภายในสหกรณ์ควรเพิ่มด้านนวัตกรรม เช่น สหกรณ์ควรมีบริการสั่งของออนไลน์ และ (4) ด้านการเรียนรู้และพัฒนา สหกรณ์ควรเพิ่มทักษะบุคลากรในด้านต่างๆ เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ด้านเทคโนโลยี และด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสหกรณ์ เป็นต้น

Article Details

How to Cite
พิบูลย์ อ., & นามวงศ์ ศ. (2021). การพัฒนาการดำเนินงานสหกรณ์การเกษตรเมืองหนองหาน จำกัด จังหวัดอุดรธานี. วารสารเกษตร มสธ. (Online), 3(1), 55–70. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/stouagjournal/article/view/249526
บท
บทความวิจัย

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2562). ข้อมูลและอัตราส่วนสำคัญของสหกรณ์การเกษตรเฉลี่ย (Peer Group). สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 จาก https://www.cad.go.th/ewtadmin/ewt/statistic/main.php?.filename=peer62.
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2562). เครื่องมือทางการเงิน (โปรแกรมทางการเงิน) ระบบเตือนภัยและเฝ้าระวังทางการเงินของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ). สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 จากhttps://www.cad.go.th/main.php? filename=finan_program.
กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2557). ชุดฝึกอบรม เรื่อง อุดมการณ์ หลักการ วิธีการ และคุณค่าของ สหกรณ์. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด .
ดุจนภา เทศสีหา. (2558). การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของสหกรณ์การเกษตรน้ำพอง จำกัด จังหวัดขอนแก่น. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสหกรณ์). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
ทศเทพ เทศวานิช. (2554). การประเมินผลการดำเนินงานสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่โถ จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ โดยเทคนิคการวัดแบบสมดุล. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสหกรณ์). มหาวิทยาลัยสุโขทัย- ธรรมาธิราช, นนทบุรี.
ธัญญรัตน์ มาลัย. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.
นพคุณ เดชะผล. (2558). ความพึงพอใจของสมาชิกต่อคุณภาพการให้ บริการของสหกรณ์ การเกษตรปฏิรูป ที่ดินหนองกอก จำกัด. (สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.
นุชนาถ วชิรศักดิ์โสภานะ. (2561). การวิเคราะห์งบการเงินและการนำไปใช้ในการวางแผนทางการเงินของสหกรณ์การเกษตรเมืองอ่างทอง จำกัด จังหวัดอ่างทอง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสหกรณ์). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
มัลลิกา คงนวล. (2561). การวิเคราะห์งบการเงินและการนำไปใช้ในการควบคุมการดำเนินงานทางการเงินของสหกรณ์การเกษตรโพธิ์ชัย จำกัด จังหวัดร้อยเอ็ด. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสหกรณ์). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
วรชัย สิงหฤกษ์ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2561). นวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสหกรณ์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 9(1), 1-9.
วิลาวัลย์ ศิลปศร. (2558). การนำแผนไปปฏิบัติการควบคุมและการประเมินกลยุทธ์ของสหกรณ์ ใน ประมวลสาระชุดวิชาการบริหารธุรกิจสหกรณ์เชิงกลยุทธ์. (หน่วยที่ 8, น.31-47). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สหกรณ์การเกษตรเมืองหนองหาน จำกัด. (2560). รายงานกิจการประจำปีสหกรณ์การเกษตรเมืองหนองหานจำกัด จำกัด .อุดรธานี:สหกรณ์การเกษตรเมืองหนองหาน จำกัด.
สหกรณ์การเกษตรเมืองหนองหาน จำกัด. (2561). รายงานกิจการประจำปีสหกรณ์การเกษตรเมืองหนองหานจำกัด จำกัด .อุดรธานี:สหกรณ์การเกษตรเมืองหนองหาน จำกัด.
สหกรณ์การเกษตรเมืองหนองหาน จำกัด. (2562). รายงานกิจการประจำปีสหกรณ์การเกษตรเมืองหนองหานจำกัด จำกัด .อุดรธานี:สหกรณ์การเกษตรเมืองหนองหาน จำกัด.
โสภณ ศรีโยธิน. (2556). การประเมินผลการดำเนินงานสหกรณ์กองทุนสวนยางละหานทราย จำกัด จังหวัดบุรีรัมย์ (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสหกรณ์). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี. (2563). ข้อมูลสารสนเทศของสหกรณ์ในจังหวัดอุดรธานี สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2563 จาก https://web.cpd.go.th/udonthani/index.php.