การพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารธุรกิจสหกรณ์ สำหรับสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน โดยใช้การออกแบบหลักสูตรแบบย้อนกลับ

Main Article Content

ศิริลักษณ์ นามวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นที่มีต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษา 2) ความต้องการศึกษาในแต่ละชุดวิชาและรูปแบบการศึกษาที่เปิดสอน และ 3) แนวทางในการพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารธุรกิจสหกรณ์สำหรับสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ .ใช้วิธีวิจัยเชิงสํารวจ ประชากร คือ บุคลากรของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน โดยไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรของคอแครน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรต่างๆ ที่ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด และชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด จัดขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้จบการศึกษาตามหลักสูตร 7 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการมีความรอบรู้และมีประสบการณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก สามารถนำความรู้ ทฤษฎี และประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษาไปประยุกต์ในการทำงานเพื่อการบริหารจัดการสหกรณ์ได้ (2) ด้านคิดเป็นแก้ปัญหาได้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีการใช้ความรู้สู่การปฏิบัติได้ (3) ด้านความรับผิดชอบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความรับผิดชอบต่อองค์กร/สหกรณ์ (4) ด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (5) ด้านความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีทักษะในการสื่อสารที่ดี (6) ด้านทักษะการศึกษาทางไกลและสามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความมุ่งมั่น ขยันหมั่นเพียรในการศึกษา และ (7) ด้านการมีคุณธรรมจริยธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีความซื่อสัตย์สุจริต 2) ความต้องการศึกษาในแต่ละชุดวิชา ชุดวิชาที่มีผู้สนใจเรียนเป็นลำดับแรกคือ ชุดวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสหกรณ์ ส่วนชุดวิชาที่มีจำนวนผู้สนใจเรียนมากที่สุดคือ ชุดวิชาการจัดการและการดำเนินงานสหกรณ์ โดยใช้รูปแบบกิจกรรมร่วมเรียนรู้ โดยการอ่านเอกสารการสอน กิจกรรมเสริมการเรียน การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค และ 3) แนวทางในการพัฒนาหลักสูตรโดยสถาบันการศึกษา/หน่วยงานที่ควรจัดการเรียนการสอน คือ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ การบริหารธุรกิจสหกรณ์ ใช้วิธีการศึกษาผ่านการอบรมทางไกลผ่านระบบออนไลน์ รายการโทรทัศน์ โดยมีผู้สอนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการบริหารงานสหกรณ์ ผู้เรียนส่วนใหญ่ คือ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ และควรมีการเทียบโอนหลักสูตรได้

Article Details

How to Cite
นามวงศ์ ศ. (2020). การพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารธุรกิจสหกรณ์ สำหรับสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน โดยใช้การออกแบบหลักสูตรแบบย้อนกลับ. วารสารเกษตร มสธ. (Online), 3(1), 71–83. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/stouagjournal/article/view/249527
บท
บทความวิจัย

References

นฤมล เพ็ชรสุวรรณ และรุจิร์ ภู่สาระ. (2558). การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5(3), 65-76.
วิลาวัลย์ ศิลปศร, ส่งเสริม หอมกลิ่น, วรชัย สิงหฤกษ์, ศิริลักษณ์ นามวงศ์ และสุรเดช อธิคม. (2560). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกล เรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สำหรับฝ่ายจัดการของสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคกลาง. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 7, วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช