ทัศนคติด้านส่วนประสมการตลาดกับความต้องการบริโภคไข่ไก่อินทรีย์ของผู้บริโภคในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

กฤษณา เข็มทอง
ภวัต เจียมจิณณวัตร
จิราพร ว่องไววิริยะ*

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อส่วนประสมการตลาดไข่ไก่ 2) ศึกษาความต้องการบริโภคไข่ไก่อินทรีย์ 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นด้านส่วนประสมการตลาดไข่ไก่จำแนกตามความต้องการบริโภคไข่ไก่อินทรีย์ของผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคไข่ไก่จำนวน 400 ราย ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการศึกษาพบว่า 1) ความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อส่วนประสมการตลาดไข่ไก่มีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด โดยผู้บริโภคได้ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ ราคา และการจัดจำหน่ายโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนการส่งเสริมการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ความต้องการบริโภคไข่ไก่อินทรีย์เรียงตามลำดับขั้นทฤษฎีความต้องการของมนุษย์ 5 ขั้น กำหนดโดยมาสโลว์ ผู้บริโภคได้ให้ความสำคัญทั้ง 5 ข้ออยู่ในระดับมาก และมีพฤติกรรมการซื้อ คือ ซื้อแน่นอนร้อยละ 63 ไม่แน่ใจหรือไม่ซื้อร้อยละ 37 3) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริโภคจำแนกตามพฤติกรรมการซื้อไข่ไก่อินทรีย์ คือ กลุ่มที่ซื้อแน่นอน และกลุ่มที่ไม่แน่ใจหรือไม่ซื้อ ที่มีต่อส่วนประสมการตลาด
ไข่ไก่โดยรวมพบว่ามีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

Article Details

How to Cite
เข็มทอง ก. ., เจียมจิณณวัตร ภ. ., & ว่องไววิริยะ* จ. (2022). ทัศนคติด้านส่วนประสมการตลาดกับความต้องการบริโภคไข่ไก่อินทรีย์ของผู้บริโภคในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารเกษตร มสธ. (Online), 4(1), 57–65. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/stouagjournal/article/view/253672
บท
บทความวิจัย

References

จักรพงษ์ สุขพันธ์. (2559). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อช่องการจัดจำหน่ายผักอินทรีย์. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ครั้งที่ 8: 2559 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอย่างยั่งยืนสู่โลกาภิวัตน์. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.
ระบบบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2561). เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. สืบค้นจาก http://www.laas.go.th/Default.aspx?menu= 67C63DB2-3FC2-4874-8EB7-2DA89A61F5B2
วารุณี จีนศร. (2554). ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กรุงเทพฯ.
วีรากร อนุจันทร์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อไข่ไก่ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 34(2), 10-20.
อับราฮัม มาสโลว์
Maslow, A. (1970). Human needs theory: Maslow’s hierarchy of needs. In R.F. Craven & C. J. Hirnle (Eds.), Fundamental of Nursing: Human Health and Function. (3rd ed.) Philadelphia: Lippincott.
Padel, S. (2016). Introduction to global markets and marketing of organic food. Deciphering Organic Foods: A Comprehensive Guide to Organic Food Consumption. Retrieved from http://orgprints.org/30798/