สภาพการเลี้ยงแพะและการติดพยาธิภายในของแพะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเลี้ยงแพะและการติดพยาธิในของแพะพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรที่เลี้ยงแพะใน 12 อำเภอของจังหวัดปัตตานี จำนวน 30 ราย สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละ สำหรับการศึกษาการติดพยาธิในแพะ สุ่มตัวอย่างแพะจำนวน 30 ตัว เก็บข้อมูลน้ำหนักตัวแพะและมูลเพื่อนับจำนวนไข่พยาธิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรที่เลี้ยงแพะในพื้นที่จังหวัดปัตตานีเป็นเพศชาย (ร้อยละ 100) มีอายุ 51-60 ปี (ร้อยละ 37.50) รายได้จากการขายแพะ 100,001-150,000 บาทต่อปี (ร้อยละ 62.50) จำนวนแพะที่เลี้ยง 41-50 ตัว (ร้อยละ 37.50) นิยมเลี้ยงแพะลูกผสม (ร้อยละ 100) เกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงแพะในรูปแบบปล่อยแทะเล็มร่วมกับขังคอก (ร้อยละ 87.50) มีการให้อาหารหยาบและเสริมอาหารข้น (ร้อยละ 75.00) ส่วนในเรื่องการควบคุมกำจัดพยาธิภายใน พบว่า เกษตรกรทุกรายใช้ยากำจัดพยาธิ (ร้อยละ 100) โดยใช้ยาถ่ายพยาธิไอเวอร์เมกซ์ตินร่วมกับอัลเบนดาโซลมากที่สุด(ร้อยละ 87.50) ความถี่ในการใช้ยาถ่ายพยาธิ คือ 4 ครั้งต่อปี (ร้อยละ 87.50) จากการสุ่มเก็บตัวอย่างมูลแพะมานับจำนวนไข่พยาธิ พบว่า มีจำนวน 501-1,000 ฟอง/กรัม (ร้อยละ 50.00) และจากการตรวจค่าฮีมาโตคริต พบว่า มีค่าอยู่ในช่วง 26-30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีค่าต่ำกว่าระดับปกติ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธฺ์ของวารสารเกษตร มสธ.
ข้อความที่ปรากฎใน