การเจริญเติบโตและผลผลิตของพันธุ์มะเขือเทศต้นเตี้ยที่มีศักยภาพในการผลิตมะเขือเทศกระถาง

Main Article Content

ปริชาติ ดิษฐกิจ*
บุณฑริกา นันทา
บุณฑริกา นันทา
วนาลัย วิริยะสุธี
วนาลัย วิริยะสุธี
จรรยา สิงห์คำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโต ผลผลิต และปริมาณวิตามินซีในผลมะเขือเทศแต่ละพันธุ์  และ คัดเลือกพันธุ์มะเขือเทศต้นเตี้ยที่มีศักยภาพในการผลิตมะเขือเทศกระถาง โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) มะเขือเทศ 10 พันธุ์ ได้แก่ Rosy Finch, Dwarf Yellow China, Tiny Tim USA, New Big Dwarf, Red Robin, Yellow Tumbling Tom, Red Tumbling Tom, Tiny Tim China, Small Fry และ Micro Tom จำนวน 5 ซ้ำ  


โดยเก็บลักษณะประจำพันธุ์มะเขือเทศ ของแข็งที่ละลายน้ำได้ และปริมาณวิตามีนซีของมะเขือเทศ วิเคราะห์ความแปรปรวน และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างพันธุ์ โดยวิธี DNMRT ผลการศึกษา พบว่า 1) มะเขือเทศพันธุ์ Small Fry และ Micro Tom  มีความกว้างทรงพุ่มมากที่สุด คือ 18.06 และ 18.02 เซนติเมตร ตามลำดับ ด้านผลผลิตของมะเขือเทศ พบว่า มะเขือเทศพันธุ์ Micro Tom มีความกว้างผล ความยาวผล จำนวนผลต่อต้น และน้ำหนักผลมากที่สุด คือ 2.61 เซนติเมตร, 2.37 เซนติเมตร,  7.33 ผลต่อต้น และ 8.41 กรัม ตามลำดับ 2) มะเขือเทศพันธุ์ Tiny Tim USA มีของแข็งที่ละลายน้ำได้และปริมาณวิตามินซี 
มากที่สุด คือ 9.73 %Brix และ 1,292.33 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ 3) มะเขือเทศพันธุ์ Micro Tom มีศักยภาพ 
ในการผลิตเป็นมะเขือเทศกระถางเพื่อตกแต่งบ้านเรือนได้ 

Article Details

How to Cite
ดิษฐกิจ* ป., นันทา บ., นันทา บ., วิริยะสุธี . ว., วิริยะสุธี ว., & สิงห์คำ จ. (2022). การเจริญเติบโตและผลผลิตของพันธุ์มะเขือเทศต้นเตี้ยที่มีศักยภาพในการผลิตมะเขือเทศกระถาง . วารสารเกษตร มสธ. (Online), 4(1), 41–47. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/stouagjournal/article/view/260046
บท
บทความวิจัย

References

สิริกุล วะสี บุญส่ง เอกพงษ์ และจันทรวิภา ธนะโสภณ. (2555). หน่วยที่ 11 การจัดการการผลิตผักวงศ์พริกและมะเขือเชิงธุรกิจ. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2558). มะเขือเทศ. สืบค้นจาก: https://www.nstda.or.th/home/knowledgebase/ebook/ สืบค้นวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564

Alsamir, M., Mahmood T., Trethowan R., & Ahmad N. (2021). An overview of heat stress in tomato (Solanuum lycopersicum L.). Saudi journal of biological sciences. 28, 1654 - 1663.

Lokesha, A. N., Shivashankara K. S., Laxman R. H., Geetha G. A., & Shankar A. G.. (2019). Effect of High Temperature on Fruit Quality Parameters of Contrasting Tomato Genotypes. International Journal of Current Microbiology and Applied Sciences. 8(3), 1019 - 1029.

Nduwimana, A. & Wei S. M. (2017). The Effects of High Temperature Regime on Cherry Tomato Plant Growth and Development When Cultivated in Different Growing Substrates Systems. Biological and Chemical Research, 1-17 p.

Spencer, L. E., Hummerick M. E., Stutte G. W., Sirmons T., Graham G. T., Massa G., & Wheeler R. M. (2019). Dwarf Tomato and Pepper Cultivars for Space Crop. 49th International Conference on Environmental Systems 7-11 July 2019, Boston, Massachusetts.