แนวทางการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลปากช่องนานา จำกัด จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

อรนุช ประสมบูรณ์
ศิริลักษณ์ นามวงศ์*

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปากช่องนานา 2) ความคิดเห็น 
ของเจ้าหน้าที่ในการจัดตั้งสหกรณ์ และ 3) แนวทางการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลปากช่องนานา จำกัด 


ประชากรในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปากช่องนานา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 จำนวน 300 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 172 คน โดยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย  
ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  
และการวิเคราะห์เนื้อหา 


ผลการศึกษาพบว่า 1) เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สัญชาติไทย อายุระหว่าง 20-29 ปี การศึกษาปริญญาตรี ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว อายุงาน 10 ปีขึ้นไป รายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ค่าใช้จ่ายต่อเดือน 10,001-20,000 บาท 2) การจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ พบว่า เจ้าหน้าที่มีความเห็นว่า เห็นด้วยในระดับมาก เชื่อว่าสหกรณ์ช่วยให้มีเงินออม  สร้างวินัยในการออม ไม่ต้องกู้ยืมเงินนอกระบบ ได้รับเงินปันผล และควรจัดอบรมให้ความรู้ และ 3) แนวทางการจัดตั้งสหกรณ์ ออมทรัพย์ สมาชิกเป็นผู้ที่ทำงานในโรงพยาบาลปากช่องนานา ถือหุ้นแรกเข้า จำนวน 10 หุ้น อัตราค่าหุ้นร้อยละ 2 ต่อเดือน  
โดยสหกรณ์ควรให้บริการเงินกู้สามัญ เงินฝากออมทรัพย์ สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลแก่สมาชิก การทำประกันชีวิตให้สมาชิก เงินสงเคราะห์สมาชิกเมื่อเสียชีวิตหรือประสบอุบัติเหตุ ทุนการศึกษาแก่บุตรของสมาชิก ทัศนศึกษานอกสถานที่ การจัดตั้งสหกรณ์นอกจากทุนภายในควรเพิ่มทุนจากภายนอก เช่น เงินสมทบจากโรงพยาบาล และควรมีการจัดจ้างเจ้าหน้าที่ ฝ่ายจัดการสหกรณ์ที่เป็นลูกจ้างประจำ ข้าราชการ หรือที่เกษียณอายุไปแล้ว และมีประสบการณ์ทำงานด้านการเงิน

Article Details

How to Cite
ประสมบูรณ์ อ., & นามวงศ์* ศ. (2022). แนวทางการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลปากช่องนานา จำกัด จังหวัดนครราชสีมา . วารสารเกษตร มสธ. (Online), 4(1), 48–56. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/stouagjournal/article/view/260048
บท
บทความวิจัย

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2561, 5 ตุลาคม). สถิติการดำเนินผลงาน และฐานะการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในรอบ 2 ปี 2560-2561. สืบค้นจาก https://www.cad.go.th /ewtadmin/ewt/statistic/download/statistic_2y5y10y/61/2y/Data61/2y_all_61.pdf

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2563, 10 พฤษภาคม). ขั้นตอนการขอจัดตั้งสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ หน้า 18 บทที่ 2. สืบค้นจาก http://www.cpd.go.th

เกศรินทร์ วิริยะอาภรณ์. (2545). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของข้าราชการกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.

จักรพงษ์ ไชยวงศ์. (2550). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดร้อยเอ็ด (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.

จุฑามาศ บุญรัศมีและคณะ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย . วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, 13(2), 16-31.

ณัฐพัชร์ ผาก่ำ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายสวัสดิการออมทรัพย์ไปปฏิบัติ (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

ธัญญรัตน์ มาลัย. (2558). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.

นิตยา พึ่งเป็นสุข. (2559). บทบาทสหกรณ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรถาวรพัฒนาพิษณุโลก จำกัด จังหวัดพิษณุโลก (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2547). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.

พิชญา แย้มทัศน์. (2560). คุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์คนของแผ่นดิน จำกัด (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ภูวไนย ศรีเวชนันต์. (2555). ศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินในการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์กรณีศึกษา บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด (มหาชน) (บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพมหานคร.

วันชัย แก้วรัตน์. (2560). ความต้องการในการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ของมณฑลทหารบกที่ 25

(วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). โรงเรียนเสนาธิการทหารบก

วิจิตร อาวะกุล. (2540). เทคนิคมนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร:โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ศศินา ปาละสิงห์. (2547). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของข้าราชการพลเรือนสายสามัญ สังกัด ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรจิตต์ แก้วชิงดวง. (2546). สหกรณ์ออมทรัพย์. ใน ประมวลสาระชุดวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสหกรณ์ (หน่วยที่ 10). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำราญ นาเสาร์. (2560). แนวทางการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานบริษัท ซินโนวา จำกัด กรุงเทพมหานคร (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,นนทบุรี.

อมรรัตน์ ปักโคทานัง. (2548). ศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

วิทยาเขตศาลายา (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.

อัคริศ ตันพิพัฒน์. (2557). พฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์พระจอมเกล้าลาดกระบัง จํากัด (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพมหานคร.

อัจฉราภรณ์ ชูวงษ์. (2559). คุณภาพการให้บริการสมาชิกของสหกรณ์ออมทรัพย์นาวิกโยธิน จำกัด

(วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรชุมา เต็มศิรินุกูล. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ของพนักงานกลุ่มบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

อารมย์ กัณหา และพันธ์ศักดิ์ ภูทอง. (2558). การศึกษาผลการดำเนินงานสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการอุบลราชธานี จำกัด. สหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการอุบลราชธานี จำกัด, อุบลราชธานี.

อำไพ ขันแก้วหล้า. (2552). ศักยภาพในการจัดตั้งสหกรณ์เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองตาก. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, ตาก.