การดำเนินธุรกิจรวบรวมผลิตผลของสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้ จำกัด จังหวัดพะเยา

Main Article Content

พิชญาภรณ์ แก้วเทพ
ศิริลักษณ์ นามวงศ์

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจ 2) ศึกษาความต้องการของสมาชิกในการดำเนินธุรกิจ และ 3) เสนอแนวทางการดำเนินธุรกิจรวบรวมผลิตผลของสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้ จำกัด จังหวัดพะเยา


            ประชากรในการศึกษา 1) คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ จำนวน 11 คน ศึกษาจากประชากรทั้งหมด โดยการประชุมระดมสมองและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 2) สมาชิกสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้ จำกัด ณ วันสิ้นปีทางบัญชี 30 เมษายน 2563 จำนวน 527 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโรยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 230 คน สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือการศึกษาใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจ (1) จุดแข็ง คือ คณะกรรมการดำเนินการ ฝ่ายจัดการ และสมาชิกมีความจงรักภักดีต่อสหกรณ์ (2) จุดอ่อน คือ คณะกรรมการขาดความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมาย (3) โอกาส คือ นโยบายรัฐบาลสนับสนุนด้านความรู้และเงินทุน (4) อุปสรรค คือ นโยบายในการสนับสนุนสหกรณ์ขาดความต่อเนื่อง 2) ความต้องการด้านบุคลากรพัฒนาทักษะการเลี้ยงโคขุนอย่างสม่ำเสมอ ด้านการเงิน สนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ด้านวัสดุอุปกรณ์ พัฒนาสถานที่รับซื้อโคขุน ด้านการจัดการ ส่งเสริมให้สมาชิกหันมาเลี้ยงโคขุนคุณภาพเพื่อเพิ่มรายได้ 3) แนวทางการดำเนินธุรกิจ (1) กลยุทธ์เชิงรุก จัดทำแผนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับศักยภาพของสหกรณ์ (2) กลยุทธ์แนวทางแก้ไข นำเทคโนโลยีมาเป็นช่องทางให้ความรู้ (3) กลยุทธ์แนวตั้งรับ จัดทำแผนการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ในระยะยาว และ (4) กลยุทธ์ป้องกัน พัฒนาสมาชิกชั้นนำให้มีความรู้ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต การระดมทุนภายในสหกรณ์

Article Details

How to Cite
แก้วเทพ พ., & นามวงศ์ ศ. . (2022). การดำเนินธุรกิจรวบรวมผลิตผลของสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้ จำกัด จังหวัดพะเยา. วารสารเกษตร มสธ. (Online), 4(2), 26–38. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/stouagjournal/article/view/264323
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา นาคลังกา และคณะ (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการของสหกรณ์เคหสถานชุมชนริมคลองลาดพร้าว. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2561

จันทิกา สุภาพงษ์ และคณะ (2561) ). การพัฒนารูปแบบการประเมินการบริหารจัดการของสหกรณ์เคหสถาน ชุมชนริมคลองลาดพร้าว. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2561

ธาริกานต์ ธนัญชยะกุล. (2556). การจัดการสหกรณ์การเกษตรในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิมพ์พิสุทธิ์ อ้วนลํ้า ชมพูนุท โมราชาติ และกัญญา จึงวิมุติพันธ์. (2560). การพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจกลุ่มหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2560

มานพ กุศลยัง. (2555). สภาพการเลี้ยงโคขุนของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดอุดรธานี. วารสารปศุสัตว์ เขต 4 ปีที่ 16 ฉบับ เดือนกรกฎาคม 2555

สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพะเยา. (2563). รายงานกิจการประจำปีสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้ จำกัด. จังหวัดพะเยา

โอภาวดี เข็มทอง และคณะ. (2548). แนวทางการพัฒนาเครือข่ายกลุ่ม/องค์กรประชาชนในพื้นที่จังหวัดสระบุรี. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

อำพันธุ์ เวฬุตันติ. (2561). แนวทางการส่งเสริมการผลิตโคเนื้อให้เพียงพอต่อการบริโภคในภาคตะวันออก. หลักสูตร วปอ. ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ รุ่นที่ 60