การประเมินโครงการฝึกอบรมข้าราชการบรรจุใหม่กรมส่งเสริมสหกรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้เข้าฝึกอบรมและผู้บังคับบัญชาเข้าฝึกอบรมข้าราชการบรรจุใหม่ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ 2) ประเมินผลการฝึกอบรมข้าราชการบรรจุใหม่3) เสนอแนะปัญหาอุปสรรคในการฝึกอบรมข้าราชการบรรจุใหม่
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ผ่าน
การฝึกอบรมข้าราชการบรรจุใหม่ รุ่นที่ 17 จากประชากรทั้งหมด จำนวน 111 คน และผู้บังคับบัญชาของผู้ผ่านการอบรม จำนวน 111 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า1) ข้าราชการบรรจุใหม่ที่ผ่านการฝึกอบรมส่วนใหญ่เพศหญิง ร้อยละ 72.9สถานภาพโสด ร้อยละ 68.8 ระดับการศึกษาระดับ ปริญญาตรีร้อยละ 78.1 วุฒิปริญญาด้านบริหารธุรกิจ ร้อยละ 47.90 ผู้บังคับบัญชา ส่วนใหญ่เพศชายร้อยละ 53.9 อายุระหว่าง 56 – 60 ปีร้อยละ 38.2 สถานภาพสมรสระดับการศึกษาด้านปริญญา บริหารธุรกิจ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกลุ่ม/หัวหน้าฝ่าย ประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป 2) การประเมินการฝึกอบรมข้าราชการบรรจุใหม่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยรวมระดับการประเมิน อยู่ในระดับมากทุกด้านทั้งในส่วนของผู้ผ่านการฝึกอบรมและผู้บังคับบัญชา ค่าเฉลี่ย 4.04 และ 4.28 โดยผู้บังคับบัญชาประเมินผลอยู่ในระดับสูงกว่าผู้เข้าอบรมทุกด้าน 3) ปัญหาอุปสรรคในการฝึกอบรมได้แก่ เวลาในการจัดอบรมโครงการเวลาน้อยเกินไป ควรเพิ่มเนื้อหาในการแนะนำส่งเสริมสหกรณ์ เพิ่มความรู้ในหลักวิชาการสหกรณ์และควรฝึกภาคปฏิบัติเพื่อให้สามารถทำได้จริง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธฺ์ของวารสารเกษตร มสธ.
ข้อความที่ปรากฎใน
References
นิวัฒน์ ตุ่นบุตรเสลา. (2556). การประเมินผลการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์การ. วิทยบริการ. 24 (2) 31-42.
ชัญญาภัค วงศ์บา และกิ่งกาญจน์ จงใจหาญ. (2554). ประเมินผลการฝึกอบรมตามโครงการCHAMPION โดยประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินของเคิร์กแพทริค. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น, 19 (1) 27-38.
ปวีร์ อัคราธิมากร. (2558). การประเมินผลโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชนของสำนักงานเขตบางเขนในกรุงเทพมหานคร. เอกสารประกอบการบรรยาย.101-125
ประเสริฐ จรรยาสุภาพ. (2545). เอกสารการสอนการสหกรณ์. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
พัชริดา เอี่ยมสุนทรชัย (2559). การประเมินผลโครงการฝึกอบรมผู้บริหาร (การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
พัชนี สมพงษ์. (2555). การประเมินโครงการศึกษาอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขา
เวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2552). (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พัสราภรณ์ ยี่สารพัฒน์ และ พิษณุ อภิสมาจารโยธิน. (2558). การพัฒนาทักษะทางสังคมในด้านการสื่อสารของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์หลักสูตรนานาชาติ. เฉลิมกาญจนา. 2 (3) 69-77.
พิยะภา ใจซื่อสมบูรณ์. (2563). การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ (บ้านบ่อราษฎรบำรุง). (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
ยุวธิดา ม่วงเจริญ และ สุรชัย มีชาญ. (2558). การประเมินการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. มหาวิทยาลัยศิลปกร. 8 (1) 1059-1074.
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2556). ,การประเมินโครงการและแนวคิดปฏิบัติ (ครั้งที่พิมพ์ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ศันสนีย์ อุตมอ่าง. (2554). การประเมินโครงการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตทองม้วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2565, จาก http://research.pcru.ac.th/service/pro_data/files11/54-039.pdf
สมคิด พรมจุ้ย.(2555) การประเมินการดำเนินงานตามนโยบาย แผนงานและโครงการทางการศึกษาประมวลชุดวิชาการประเมินนโยบายการดำเนินงาน แผนงาน และโครงการหน่วยที่ 13, นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อภิสิทธิ์ คุณวรปัญญา และ คำรณ โชธนะโชติ. (2557). การประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรม ความรู้
เกี่ยวกับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. 1 (1) 49-59