สมรรถภาพการผลิตและต้นทุนค่าอาหารของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงด้วยกากมันสำปะหลังหมักยีสต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถภาพการผลิตและต้นทุนค่าอาหารของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงด้วยกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยใช้ลูกไก่ไทยละโว้คละเพศ อายุ 14 วัน จำนวน 96 ตัว แบ่งออกเป็น 4 ทรีตเมนต์ๆ ละ 3 ซ้ำ ไก่ทดลองแต่ละทรีตเมนต์จะได้รับอาหารแตกต่างกัน ได้แก่ ทรีตเมนต์ 1 ได้รับอาหารสำเร็จรูปทางการค้าเพียงอย่างเดียว (กลุ่มควบคุม) ทรีตเมนต์ 2, 3 และ 4 ได้รับกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ทดแทนอาหารสำเร็จรูปทางการค้าที่ระดับ 10, 20 และ 30 %โดยน้ำหนักสด ตามลำดับ ระยะเวลาทดลอง 92 วัน ผลการวิจัยสมรรถภาพการผลิต ได้แก่ ปริมาณการกินได้ อัตราการเจริญเติบโต และอัตราการแลกเนื้อของไก่ทดลองในแต่ละทรีตเมนต์ พบว่า มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) สำหรับต้นทุนค่าอาหาร พบว่า ทรีตเมนต์ที่ 4 มีต้นทุนค่าอาหารและต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เท่ากับ 66.11±5.00 บาท/ตัว และ 56.73±2.01 บาท/กิโลกรัม ซึ่งมีค่าน้อยกว่าทรีตเมนต์ที่ 1, 2 และ 3 (P<0.05) จะเห็นได้ว่า การใช้กากมันสำปะหลังหมักยีสต์สามารถทดแทนอาหารสำเร็จรูปทางการค้าได้ถึงระดับ 30 % โดยไม่ส่งผลต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่ไทยละโว้ และการใช้กากมันสำปะหลังหมักยีสต์ทดแทนอาหารสำเร็จรูปทางการค้าที่ระดับ 30 % ส่งผลให้ต้นทุนค่าอาหารและต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมมีค่าน้อยที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธฺ์ของวารสารเกษตร มสธ.
ข้อความที่ปรากฎใน
References
จรีวรรณ จันทร์คง และณปภัช ช่วยชูหนู. (2564). ศักยภาพการผลิตและผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ดำเขาหลัก จังหวัดตรัง. วารสารเกษตรพระวรุณ. 18(1): 80-87.
ณปภัช ช่วยชูหนู, บัณฑิตา ภู่ทรัพย์มี โปณะทอง, ไพศาล กะกุลพิมพ์ และจรีวรรณ จันทร์คง. (2565). การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลตอบแทนและช่องทางการจัดจำหน่ายไก่แดงในพื้นที่ภาคใต้. วารสารเกษตรพระวรุณ. 19(1): 59-65.
ดรุณี ณ รังษี, ทวี อบอุ่น และปภาวรรณ สวัสดี. (2551). สมรรถภาพการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมือง 4 สายพันธุ์ภายใต้สภาพการจัดการแบบเดียวกัน. วารสารวิชาการ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กองบำรุงพันธุ์สัตวกรมปศุสัตว์.
ทองเลียน บัวจูม, สุรีรัตน์ ถือแก้ว และวัชราภรณ์ พิลา. (2565). การใช้ประโยชน์กากมันสำปะหลังหมักยีสต์เป็นแหล่งพลังงานทางเลือกในอาหารไก่พื้นเมือง. ใน เอกสารการประชุมทางวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วันที่ 24-25 ธันวาคม 2564, เชียงใหม่, หน้า 844-852.
นฤมล สมคุณา, จรัส สว่างทัพ, เอกสิทธิ์ สมคุณา, นิตยา พุ่มอำภา, นิพรรษา อินทร์แสง และยุภาพร นนเสนา. (2556). การเพิ่มระดับโปรตีนของกากมะพร้าวและมันสำปะหลัง โดยกระบวนการหมักยีสต์และยูเรีย. วารสารวิทยศาสตร์เกษตร. 44 : 1 (พิเศษ) : 267-270.
นริศรา สวยรูป บัญญัติ เหล่าไพบูลย์ วุฒิไกร บุญคุ้ม และมนต์ชัย ดวงจินดา. (2555). สมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำและชีที่เลี้ยงด้วยอาหารไก่เนื้อ และอาหารไก่ไข่. แก่นแกษตร, 40 ฉบับพิเศษ 2, 248-252.
ปรีดา คำศรี, ยุวเรศ เรืองพานิช, เสกสม อาตมางกูร, อรประพันธ์ ส่งเสริม และณัฐชนก อมรเทว. (2552). ผลของระดับกากมันสำปะหลังและรูปแบบอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตไก่เนื้อ. ใน เอกสารการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47: สาขาสัตว์ วันที่ 17-20 มีนาคม 2552, กรุงเทพฯ, หน้า 132-140.
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร: กากมันสำปะหลัง ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (มกษ. 8803-2561). ใน ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 135 ตอนพิเศษ 217ง
วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2561.
รักษิณา สัตย์ชาพงษ์. (2557). ผลการใช้หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ต่อสมรรถภาพการผลิตและต้นทุนค่าอาหารในการผลิตไก่ไทยละโว้ (วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
วรกร มีปาน ศิริลักษณ์ วงส์พิเชษฐ และมณฑิชา พุทซาคำ. (2555). การใช้ข้าวเปลือกร่วมกับหนอนแมลงวันสดเป็นอาหารไก่พื้นเมืองช่วงอายุ 1-6 สัปดาห์. ใน เอกสารการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2 วันที่ 4-5 กันยายน 2555, นนทบุรี, หน้า 1-14.
วริยา โกสุม, นารีรัตน์ เจริญวัฒนสกุล, ยุวเรศ เรืองพานิช, สุกัญญา รัตนทับทิมทอง และเสกสม อาตมางกูร . (2552). คุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของกากมันสำปะหลัง. ใน เอกสารการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49: สาขาสัตว์ วันที่ 20 มีนาคม 2560, กรุงเทพฯ, หน้า 117-124.
สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย. (2566). ผลผลิตมันสำปะหลัง. สืบค้น จาก https://www.thaitapiocastarch.org/th /information/statistics/weekly_tapioca_starch_market
สุเมธ ไตรพฤกษชาติ, ยุวเรศ เรื่องพานิช, เสกสม อาตมางกูร, อรประพันธ์ ส่งเสริม และ สุกัญญา รัตนทับทิมทอง. (2552). ผลของระดับกากมัน สำปะหลังในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพ ไข่. ใน เอกสารการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47: สาขาสัตว์ วันที่ 17-20 มีนาคม 2552, กรุงเทพฯ, หน้า 165-173.
อภินันท์ จินพละ. กรมปศุสัตว์. (ม.ป.ป.). การเลี้ยงไก่ไทยละโว้. สืบค้น จาก http://pvlolbr.dld.go.th/th/word/f1.pdf.
Adela Marcu, Ioan Vacaru-Opris, Gabi Dumitrescu, Liliana Petculescu Ciochina, Adrian Marcu, Marioara Nicula1, Ioan Pet, Dorel Dronca, Bartolomeu Kelciov & Cosmin Maris. (2013). The influence of genetics on economic efficiency of broiler chickens growth. Animal Science and Biotechnologies, 46(2).
AOAC. (1990). Association of fficial Analytical Chemists .Official Methods of Analysis. 15th ed. Washington DC,
pp. 69-70.
Oboh, G., & A. A. Akindahunsi. (2003). Biochemical changes in cassava products (flour & gari) subjected to Saccharomyces cerevisae solid media fermentation. Food Chem. 82:599–602.