ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารเกาหลีของผู้บริโภคร้านโคโค่บี พระราม 3 เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศิริลักษณ์ ลีลาวิชิตชัย
นาลัน แป้นปลื้ม

บทคัดย่อ


การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางจิตวิทยา และปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับพฤติกรรมในการใช้บริการร้านอาหารเกาหลีของผู้บริโภคร้านโคโค่บี เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจาก ผู้บริโภคร้านอาหารเกาหลีโคโค่บี พระราม 3 เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร จำนวน 150 ราย ด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และไคสแควร์ พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลด้าน อายุ อาชีพ รายได้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการใช้บริการด้านบุคคลที่อยากพามารับประทานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05  ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตวิทยาด้านการกระตุ้นจากภาพยนตร์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการใช้บริการด้านเหตุผลสำคัญที่เลือกใช้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาด (7Ps) กับพฤติกรรมในการใช้บริการร้านอาหารเกาหลีล้วนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05


Article Details

How to Cite
ลีลาวิชิตชัย ศ., & แป้นปลื้ม น. (2023). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารเกาหลีของผู้บริโภคร้านโคโค่บี พระราม 3 เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร. วารสารเกษตร มสธ. (Online), 5(2), 10–19. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/stouagjournal/article/view/271159
บท
บทความวิจัย

References

ชุติภา จันทศร และ กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ (2560). การตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารเกาหลีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. บทความวิจัย.ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 (2017): มีนาคม-กรกฏาคม 2560.

ปาริชาติ โชคเกิด. (2564). เกาหลีใต้ราชาแห่ง Soft Power ส่งออกวัฒนธรรมอาหารผ่านซีรีส์ สร้างยอดขายมหาศาล. สืบค้น 19 ธันวาคม 2564, จาก

https:// brandinside. asia/sort-power-of-south-korea-by-food-culture/

วิภาดา แสงกล้า. (2564). กระแสนิยมวัฒนธรรมเกาหลีกับการบริโภคอาหารเกาหลีในสถานการณ์โควิค 19 กรณีศึกษาแฟนละครเกาหลีในกรุงเทพฯ และปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์) มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

สิริทิพย์ หอมขจร. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกร้านอาหารเกาหลีในอำเภอเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

เอดเซดเทรด. (2563). กรณีศึกษา ซีรีส์ Itaewon Class ทำให้โคซูจังขาดตลาด. สืบค้น 19 ธันวาคม 2564, จาก https: //www.accesstrade.in.th.

Eukeik, E. E. (2019). อาหารเกาหลีบุกไทย CJ FOODS KOREA จับมือ A-BEST ตั้งเป้าให้ไทยเป็นฐานการผลิตอาหารเกาหลีส่งออกโลก. สืบค้น 19 ธันวาคม 2564, จาก https://www.Marketeeronline.co.

Roscoe, T. J. (1975). Fundamental Research Statistics for the Behavioral Science, International Series in Decision Process, 2nd Edition, Holt, Rinehart and Winston, Inc., New York.