ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเพิ่มมูลค่าต้นชวนชมในจังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการเพิ่มมูลค่าต้นชวนชมของเกษตรกรในจังหวัดนนทบุรี งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกชวนชมในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 10 ราย เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกชวนชมมีการเพิ่มมูลค่าต้นชวนชมโดย 1) การปลูกชวนชมด้วยการเพาะเมล็ดเพื่อให้ได้โขดหรือโคนต้นที่พองโต 2) การต่อกิ่งหรือการเปลี่ยนยอดชวนชมโดยใช้ต้นกิ่งของต้นพันธุ์ดีเสียบบนต้นที่มีโคนสวยงาม การต่อกิ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ ต่อกิ่งแบบเข้าเดือย และการต่อกิ่งแบบไม่เข้าเดือย 3) การดัดกิ่ง ลำต้น และรากชวนชม และทำให้ต้นชวนชมขายในรูปแบบบอนไซ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธฺ์ของวารสารเกษตร มสธ.
ข้อความที่ปรากฎใน
References
พรรณไม้. (ม.ป.ป.). ชวนชม. สืบค้นจาก https://www.panmai.com/DesertRose/DesertRose.shtml#:~:text=สำหรับประเทศไทยไม่ปรากฎ, สืบค้น ของ%20อาจารย์วิชัย%20อภัย เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566
บัญชา เขมธร. (2006). ไม้ดัดไทย. บ้านและสวน กรุงเทพมหานคร 156 หน้า
หฤษฎี ภัทรดิลก จันทรวิภา ธนะโสภณ และจิตราพรรณ เทียมปโยธร.(2553). การจัดการการผลิตไม้อวบน้ำ ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการการผลิตไม้ดอกไม้ ประดับเชิงธุรกิจ หน่วยที่ 8-15 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี
Jack, B.B. (1971). A Glossary of Botanic Terms Hafner. Publishing Co. Inc. New York.