แผนการจัดการวนอุทยานบึงสามพัน อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องแผนการจัดการวนอุทยานบึงสามพัน อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของชุมชนต่อการจัดการวนอุทยานบึงสามพัน 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการจัดการ
วนอุทยานบึงสามพันในปัจจุบัน และ 3) จัดทำแผนการจัดการวนอุทยานบึงสามพัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ประชาชนที่อยู่อาศัยในตำบลซับสมอทอดและตำบลซับไม้แดง อำเภอบึงสามพัน
จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 8 หมู่บ้าน รวม 5,136 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของทาโร ยามาเน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 371 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยการจับสลากตามสัดส่วนจำนวนประชากรในแต่ละหมู่บ้าน จากนั้นดำเนินการใช้แบบสอบถามสอบถามข้อมูล และนำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดยการจัดสนทนากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 15 คน เพื่อร่วมกันวิเคราะห์
จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค และแนวทางในการจัดการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต ผลที่ได้นำมาวิเคราะห์ตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ และจัดทำ TOWS matrix เพื่อสังเคราะห์แผนการจัดการวนอุทยานบึงสามพันในอนาคต
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุมากกว่า 45 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท มีถิ่นฐานเกิดในหมู่บ้านที่พักอาศัยมีระยะห่างจากวนอุทยาน 6 – 10 กิโลเมตร ส่วนใหญ่ได้รับรู้หรือข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวนอุทยานและการจัดการในระดับมาก มีความพึงพอใจต่อการจัดการในปัจจุบันระดับมาก แต่มีส่วนร่วมในการจัดการในระดับน้อย 2) ผลการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการจัดการวนอุทยานบึงสามพันในปัจจุบัน พบว่ามีจุดแข็ง จำนวน 5 ข้อ จุดอ่อน จำนวน 5 ข้อ โอกาส จำนวน 4 ข้อ และอุปสรรค จำนวน 4 ข้อ ซึ่งจากการวิเคราะห์ตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ พบว่าอยู่ในยุทธศาสตร์เร่งพัฒนา หรือยุทธศาสตร์เชิงแก้ไข 3) แผนการจัดการวนอุทยานบึงสามพัน ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการศึกษาและวิจัยทรัพยากรในพื้นที่ ด้านนันทนาการและสื่อความหมาย ด้านส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และด้านบริหารจัดการ โดยมีกลยุทธ์ทั้งสิ้น 31 กลยุทธ์ และกลยุทธ์ทั้งหมดมีความสอดคล้องกับนโยบายในการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้กำหนดไว้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธฺ์ของวารสารเกษตร มสธ.
ข้อความที่ปรากฎใน
References
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2564). นโยบายการจัดการอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 กรุงเทพมหานคร
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563). “ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนดบริเวณพื้นที่ให้เป็นวนอุทยาน ประกาศ
ณ วันที่ 14 ธันวาคม 2563
กฤษฎ์ โพธิ์ศรี. (2554). “การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครกู้ชีพ ในการบริการการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยกู้ชีพขั้นพื้นฐาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม” วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
กฤษฎา สุภาพไพบูลย์. (2542). “การมีส่วนร่วมของราษฎรในการจัดการอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย” วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วนศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พระชาญชัย เพชรดี. (2555). “แนวทางพัฒนาการจัดการทรัพยากรป่าไม้แบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาโครงการส่งเสริมให้ที่พักสงฆ์เขาธงทองช่วยงานด้านป่าไม้ บ้าน ป่าแดง ตำบลป่าเลา อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์” วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรเกษตร)
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช “พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562” (2562, 29 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 71 กรณกร
ตีรกานนท์. (2558). “หลักการส่งเสริมการป่าไม้เพื่อสิ่งแวดล้อม หน่วยที่ 1-7 พิมพ์ครั้งที่ 2 นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
วัชรพล แซ่เจี่ย. (2560). รายงานการสำรวจพื้นที่วนอุทยานเขาน้ำซับ-เขาวิเชียร
วัชรินทร์ คำหอม. (2548). “ความคิดเห็นของราษฎรต่อวนอุทยานไดโนเสาร์แก่งหลวง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา”วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทรัพยากรป่าไม้) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สุเทพ เกตุเวชสุริยา (2548) “ความต้องการมีส่วนร่วมของราษฎรท้องถิ่นในโครงการจัดการพื้นที่คุ้มครอง อย่างมีส่วนร่วมของอุทยานแห่งชาติเขาแหลม
จังหวัดกาญจนบุรี” วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต (การบริหารทรัพยากรป่าไม้) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์