การจัดการการผลิตมะพร้าวน้ำหอมของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอม ตำบลเกาะศาลพระ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

ศิริพร บุญเพ็ญ
สัจจา บรรจงศิริ
วนาลัย วิริยะสุธี

บทคัดย่อ

การศึกษาการจัดการการผลิตมะพร้าวน้ำหอมของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอม ตำบลเกาะศาลพระ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการการผลิตมะพร้าวน้ำหอม และ 2) เพื่อให้ทราบปัญหาและข้อเสนอแนะการจัดการการผลิตของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอม โดยศึกษาในกลุ่มประชากร เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอม ตำบลเกาะศาลพระ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2566/67 จำนวน 34 ราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุมากกว่า 61 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประสบการณ์ในการปลูกมะพร้าวเฉลี่ย 17 ปี สมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน แรงงานภาคเกษตรเฉลี่ย 2 คน การจ้างแรงงานเฉลี่ย 2 คน มีต้นทุนการผลิต 5,408.48 บาทต่อไร่ การจัดการการผลิตมะพร้าวพื้นที่ปลูกเป็นดินเหนียว มีการยกร่องปลูก
แบบแถวเดี่ยว ขนาดหลุมปลูก 0.5x0.5x0.5 เมตร ระยะปลูก 6x6 เมตร ปลูกมะพร้าวพันธุ์หมูสีเขียว อายุต้นพันธุ์ 5 เดือน ดูแลรักษาโดยให้น้ำเฉลี่ย 5.26 ครั้งต่อเดือนโดยเรือพ่นน้ำ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีโดยหว่านรอบทรงพุ่ม เกษตรกรส่วนหนึ่ง
มีการลอกเลนและใส่เกลือแกงเฉลี่ย 30.50 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตครั้งแรกหลังจากปลูกเฉลี่ย 2-3 ปี ตัดผลผลิตทุกๆ 20 วัน โดยจัดจำหน่ายผลผลิตผ่านพ่อค้าคนกลาง ปัญหาที่พบ ได้แก่ (1) ต้นทุนในการผลิตสูง มีข้อเสนอแนะให้รวมกลุ่มกันซื้อปัจจัยการผลิต ทำปุ๋ยใช้เอง และจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (2) ปัญหาด้านการผลิตจากสภาพอากาศที่แปรปรวน
และศัตรูพืชระบาด มีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐและเอกชนสนับสนุนองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ทันสมัย และเกษตรกรควรดูแลตรวจแปลงป้องกันการระบาดของศัตรูพืช (3) ปัญหาด้านการจัดการตลาด เกษตรไม่มีอำนาจต่อรองราคาและไม่มีการส่งเสริมการขาย มีข้อเสนอแนะควรรวมกลุ่มกันเพื่อทำสัญญาซื้อขายกับเอกชนและหน่วยงานรัฐร่วมบูรณาการส่งเสริมให้เกษตรกร
หันมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้า (4) ปัญหาด้านการจัดการกลุ่ม เกษตรยังไม่ให้ความสำคัญในการร่วมกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่ม
มีข้อเสนอแนะให้คณะกรรมการแปลงใหญ่ สร้างการรับรู้และทำความเข้าใจกับสมาชิกให้เห็นถึงความสำคัญของกลุ่ม
และประโยชน์ที่จะได้รับ

Article Details

How to Cite
บุญเพ็ญ ศ., บรรจงศิริ ส., & วิริยะสุธี ว. (2025). การจัดการการผลิตมะพร้าวน้ำหอมของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอม ตำบลเกาะศาลพระ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. วารสารเกษตร มสธ. (Online), 6(2), 46–56. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/stouagjournal/article/view/277857
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. (2562). การจัดการความรู้เทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอม. กรมวิชาการเกษตร: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมวิชาการเกษตร. (2566). คู่มือการดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ในส่วนของกรมวิชาการเกษตร.

กรมวิชาการเกษตร: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ขนิษฐา ยินดี, จรรยา สิงห์คำ และพลสราญ สราญรมย์. (2563). การจัดการการผลิตมะพร้าวน้ำหอมแบบแปลงใหญ่ อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. น. 5361-5369. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิทยาเขตกำแพงแสน วันที่ 2-3 ธันวาคม 2563. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม.

ภานุวัฒน์ เนียมสุวรรณ, กฤษณา กฤษณพุกต์, ภาสันต์ ศารทูลทัต, ศุภธิดา อับดุลลากาซิม และ ลพ ภวภูตานนท์. (2561).

การตอบสนองต่อการจัดการธาตุอาหารของต้นมะพร้าวน ้าหอมอายุน้อยที่ยังไม่ให้ผลผลิต. วิทยาศาสตร์เกษตร, 49(1) (พิเศษ), 356-361.

สัจจา บรรจงศิริ. (2562). เอกสารการสอนชุดวิชา การจัดการการผลิตไม้ผลเชิงธุรกิจ หน่วยที่ 6 การจัดการการผลิตมะพร้าวน้ำหอม. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตร ปี 2565. สืบค้นจาก https://oae.go.th/view/1/ตารางแสดงรายละเอียดมะพร้าว/TH-TH

เอื้องพร นพคุณ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการบริหารจัดการ โครงการส่งเสริมการเกษตร

แบบแปลงใหญ่มะพร้าวน้าหอมบ้านแพ้ว (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช, นนทบุรี.