แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวของสำนักงานจัดหางานจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
แรงงานต่างด้าว , การบริหารจัดการ , สำนักงานจัดหางานจังหวัดขอนแก่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย และเสนอแนวทางการจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย จำแนกเป็น ด้านขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย ด้านความรู้ ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ และด้านกฎหมายการทำงานของแรงงานต่างด้าวที่เกี่ยวข้อง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัญหาด้านขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย คือ ขั้นตอนการจัดทำเอกสารมีความยุ่งยาก ไม่สามารถลดขั้นตอนได้ ใช้ระยะเวลาพิจารณาเอกสารนาน อัตราค่าใช้จ่ายในการยื่นจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติสูง 2. สภาพปัญหาด้านความรู้ ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ คือ เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ขาดความรู้ด้านกฎหมาย มีปัญหาด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ และขาดทักษะในการให้บริการ 3. สภาพปัญหาด้านกฎหมายการทำงานของแรงงานต่างด้าวที่เกี่ยวข้อง คือ กฎหมายการทำงานของแรงงานต่างด้าวมีผลต่อการปฏิบัติต่อแรงงานต่างด้าวที่ไม่เหมาะสม 4. แนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ควรดำเนินการ คือ ควรแก้ไขกฎ ระเบียบเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการยื่นจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ การกำหนดเงื่อนไขด้านระยะเวลาในการขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติ ควรสร้างระบบเทคโนโลยีกลางของศูนย์ข้อมูลแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ด้านกฎหมายแรงงาน และควรแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีความสอดคล้องกัน
References
กริชพล ลีลาชัย และโสภา ชปีลมันท์. (2554). เครือข่ายแรงงานต่างด้าวชาวพม่าที่ผิดกฎหมายในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 7(1), 42-54.
กองเศรษฐกิจการแรงงาน. (2564). รายงานสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจ การแรงงานระหว่างประเทศ และการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ ไตรมาส 1/2564. กรุงเทพฯ: กองเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน.
กันยปริณ ทองสามสี และคณะ. (2563). การคุ้มครองแรงงานต่างด้าวของสถานประกอบการตามสิทธิประกันสังคม. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 37(3), 54-78.
ชัยฤทธิ์ กล่อมใจ. (2558). แนวทางการพัฒนาคุณภาพบริการด้านใบอนุญาตทำงานของศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน. สารนิพนธ์หลักสูตรพัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทรงชัย ทองปาน. (2563). สภาพปัญหา และข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย: ผลจากการสังเคราะห์งานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 2(4), 3-8.
ธีรยุทธ คงขาว และพรรณวดี ขำจริง. (2562). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ของผู้ประกอบการในจังหวัดภูเก็ต. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 11 วันที่ 27-28 มีนาคม 2562.
นภสร เจริญโพธิ์. (2560). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: การให้บริการแรงงานต่างด้าวแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประเทศไทย. วารสาร สมาคมนักวิจัย, 22(1), 230-243.
นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2565). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประชา วสุประสาท. (2553). วาระนโยบายแรงงานข้ามชาติของประเทศไทย : เส้นทางสู่ความสามารถในการแข่งขันระยะยาว. กรุงเทพฯ : องค์การแรงงานระหว่างประเทศ.
ไพรินทร์ มากเจริญ. (2558). สถานการณ์แรงงานข้ามชาติ: แรงงานพม่า ปัญหาการอยู่ร่วมกันในชุมชนในจังหวัดนครปฐม. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 6(1), 63-94.
ภัคสิริ แอนิหน. (2561). แรงงานต่างด้าว: การบริหารและการจัดการในประเทศไทย. วารสารศิลปการจัดการ. 2(2), 117-132.
มุขมังกร สีสมยา. (2564). สภาพปัญหาการบริหารการจัดการแรงงานข้ามชาติในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 1(3), 54-61.
เมตตา สุขสมรุ่งเรือง. (2563). ปัญหากฎหมายในการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560. วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8 (1), 99-111.
วชิรวัชร งามละม่อม และภิศักดิ์ กัลยาณมิตร. (2561). ความท้าทายของประเทศไทยในประชาคมอาเซียนกับการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 10(1), 415-417.
วนิตา บุญโฉม และณัฐพศุตม์ ภัทธิราสินสิริ. (2561). การตัดสินใจจ้างแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายของผู้ประกอบการในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(3), 87-97.
ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. (2559). การจัดการแรงงานข้ามชาติเข้าเมืองผิดกฎหมาย 3 สัญชาติของไทย:
การสำรวจทางกฎหมาย นโยบาย และทางเลือก. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 7(1), 49-74.
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (ม.ป.ป.). ประเภทใบอนุญาตทำงาน. กรุงเทพฯ: กรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.
สุวรรณ์ แก้วนะ. (2562). การบริหารจัดการการใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 4(1), 17-29.
โสภนา ศรีจำปา. (2562). ภาษา: การพัฒนาทุนมนุษย์ให้กับแรงงานข้ามชาติในสังคมพหุวัฒนธรรมอาเซียน. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 37(2), 82-112.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในกองบัญชาการฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว