การออกแบบโมชั่นกราฟิกเพื่อการอนุรักษ์สัตว์หายาก

Main Article Content

Marut Pichetvit

บทคัดย่อ

การวิจัยสร้างสรรค์เรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อออกแบบโมชั่นกราฟิกเพื่อการอนุรักษ์สัตว์หายากซึ่งใกล้สูญพันธ์ในประเทศไทย ซึ่งวิธีการวิจัยใช้การศึกษารูปแบบของสื่อโมชั่นกราฟิก และใช้การพัฒนาสื่อด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator และ Adobe After Effect เพื่อจัดทำสื่อ ขั้นตอนสุดท้ายคือการสอบถามความพึงพอใจต่อผู้ใช้สื่ออายุระหว่าง 18- 24 ปี จำนวน 112 คน ซึ่งผลการวิจัยพบว่าผู้ใช้สื่อมีความพอใจในระดับสูง แรงบันดาลใจสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานนี้เริ่มจากการที่ในปัจจุบันผู้คนอาศัยอยู่ในเมือง อยู่หอพัก หรืออยู่อาคารชุด มากขึ้น มีการนำสัตว์อนุรักษ์มาเลี้ยง จึงทำให้สัตว์เลี้ยงพิเศษเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้มีสัตว์พิเศษมากมายต้องเสียชีวิตลงจากการที่ผู้เลี้ยงบางคนซื้อมาเลี้ยงเพราะความนิยมตามสมัย บางคนไปเดินเล่นตามร้านค้า เมื่อพบเจอสัตว์แปลกแล้วถูกตาต้องใจจึงซื้อมาเลี้ยงโดยที่ไม่มีความรู้ที่ถูกต้องว่าต้องเลี้ยงอย่างไร เช่นนี้เลยมีปัญหาต่างๆ ตามมามากมายจนนำพาไปสู่การเจ็บป่วยและเสียชีวิตของสัตว์พิเศษ จากเหตุการณ์ดังกล่าวจึงได้จัดทำผลงานให้ความรู้ในการรณรงค์ในรูปแบบของโมชั่นกราฟิกเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย สิ่งที่ค้นพบในงานวิจัยนี้คือการตอบรับที่ดีจากกลุ่มเป้าหมายและกระบวนการจัดทำสื่อผสมซึ่งเป็นจุดประสงค์ของงานวิจัย องค์ความรู้ที่ได้สามารถต่อยอดไปในการสร้างสรรค์งานออกแบบโมชั่นกราฟิกเพื่อการอนุรักษ์ในวงกว้างได้ในอนาคต

Article Details

บท
การออกแบบ

References

เกวลี ฉัตรดรงค์. (28 มีนาคม 2561). สรุปงานบริการวิชาการ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจากhttp://www.vet.chula.ac.th/vet2014/news/info

คณิศักดิ์ อรวีระกุล. (28 มีนาคม 2561). ประวัติความเป็นมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก http://www.vet.chula .ac.th/vet2014/index.html,.

วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ. (28 มีนาคม 2561). ความรู้เกี่ยวกับการสร้างภาพประกอบ. สืบค้นจาก http://www.wwartcoll.com/ articles2_wi1_sub.php?id=5,

ยุรนันท์ อิ่มสมบัติ. (18 เมษายน 2561). ความหมายของกราฟิก. สืบค้นจาก http://intreelek2.blogspot.com

Flickr. (18 เมษายน 2561). Close up photography of bald eagle. สืบค้นจาก https://www.pexels.com/photo/close-up-photography-of-bald-eagle-145962/