กิจกรรมดนตรีที่ส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตร

Main Article Content

ปราโมทย์ เที่ยงตรง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์เนื้อหาวิชาดนตรีตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2. ศึกษากิจกรรมทางดนตรีที่ส่งเสริม และพัฒนานักศึกษาตามหลักสูตรดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอนได้แก่  ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาค้นคว้าข้อมูล ทฤษฎี แนวคิด จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และหลักสูตรดนตรี  ขั้นตอนที่ 2 การการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้าน กิจกรรมดนตรีที่ส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตร เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน  ขั้นตอนที่ 3 การนำรูปแบบการเรียนการสอนที่ได้พัฒนาไปใช้ทดลอง  ขั้นตอนที่ 4 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่นำไปใช้  โดยขั้นตอนที่ 3 ผู้วิจัยได้นำรูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นและผ่านการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญแล้วนำไปทดลองกับกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาดนตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา  โดยจัดเป็นการทดลองให้นักศึกษาได้นำความรู้จากการเรียนในห้องเรียนไปใช้ในกิจกรรมที่เกิดจากสถานการณ์จริงแล้ววัดผลจากความพึงพอใจของนักศึกษา  ผลปรากฎว่า  นักศึกษาได้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่ผ่านจากกิจกรรมซึ่งส่งผลต่อความพึงพอใจและส่งผลต่อทักษะและศักยภาพทางดนตรีในด้านต่างๆ  รวมไปถึงด้านความมีวินัย  ความรับผิดชอบใน  การทำงานร่วมกัน การคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาที่ได้ผลลัพธ์ไปในทางที่ดีขึ้น

Article Details

บท
ดุริยางคศิลป์

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์

การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กันตาภา สุทธิอาจ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะ

การเรียน ด้วยการนำตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น(ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย

ธุรกิจบัณฑิตย์.

ราชบัณฑิตยสภา. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เจี้ยวฮั้ว

รุ่งระวี สมะวรรธน. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสุขศึกษาโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อตามทฤษฎีการเรียนรู้เน้น

ประสบการณ์และแนวคิดการบูรณาการเนื้อหากับภาษา เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพและความสามารถในการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธัชกร สุวรรณจรัส. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการเรียนจากประสบการณ์บนเครือข่ายเพื่อส่งเสริม

ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปริญญา

นิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่6.

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7 ). กรุงเทพฯ สุวีริยาสาส์น

สุนีย์ ละกำปั่น. (2541). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองสำหรับนักศึกษาประถมปีที่

(ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Burnard, P. (1996). Acquiring interpersonal skills: A hand of experiential learning for health professionals ( 2nd

ed). London: chapman & Hal

Calhoun, L. G. (2004). Target Article: "Posttraumatic Growth: Conceptual Foundations and Empirical Evidence". Psychological Inquiry.

Conner, M. L. (1997). Leaning from experience. (n.p.): Ageless Learner.

Dewey,John. (1983). Eeperience and education. New York: Macmillan.

Evans, N. (1994). Experiential learning foe all. New York: Cassel

Eggen, P. D., & Kauchak, D. P. (2006). Strategies and models for teacher: Teaching content and thinking skills.

Boston: Pearson Education, Inc.

Jaques, D. (1993). Designing and evaluation courses. New South Wales: Educational Methods Unit. Oxford

Brooke University.

Joyce, B., & Weil, M. (1996). Model of teaching. Toronto: Allyn & Baoon.