บทบาทนาฏกรรมจากภาษีโขนละครในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Main Article Content

มณิศา วศินารมณ์

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทนาฏกรรมจากภาษีโขนละครในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ ผลการศึกษา พบว่า บทบาทของนาฏกรรมที่ปรากฏอยู่ในเอกสารราชการแต่เดิม คือ การแสดงตามความเชื่อ พิธีกรรม เครื่องอุปโภคเฉพาะชนชั้น การศึกษา และการประกอบอาชีพ จนกระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสถานการณ์โลกเกิดการเปลี่ยนแปลง ทรงใช้นาฏกรรมเป็นเครื่องมือพัฒนาประเทศ โดยทรงออกประกาศอนุญาตให้ผู้หญิงแสดงละคร ฟื้นฟูละครผู้หญิงของหลวง ห้ามแอ่วลาว การกำหนดเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์การแสดง และกำหนดอัตราภาษีโขนละคร ความสัมพันธ์ของประกาศสอดคล้องกับอัตราภาษีการแสดง และนโยบายแห่งรัฐในเวลานั้น ปรากฏบทบาทของนาฏกรรม คือ พิธีกรรม พิธีการ เครื่องอุปโภคเฉพาะชนชั้น การบันเทิง การแสดงอัตลักษณ์ตัวตน ชุมชน ชาติ อาวุธ ทูตวัฒนธรรม เผยแพร่นโยบายของผู้นำประเทศ เครื่องมือประกอบอาชีพ เครื่องมือแสดงความเป็นอยู่ และการศึกษาการสร้างบทบาทแก่นาฏกรรมเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบบนพื้นฐานแนวคิดเรื่อง “วัฒนธรรม” ด้วยการใช้นาฏกรรมเป็นเครื่องมือสื่อสารทั้งภายใน และต่างประเทศ คือ การสร้างอัตลักษณ์ของชาติ การสร้างรายได้แก่รัฐ การทูต การป้องกันประเทศยามสงคราม การทำนุบำรุงศาสนา การศึกษา และการบันเทิง บทบาทที่กล่าวมาเป็นการการยกสถานภาพวิชาชีพนาฏกรรมที่มีมาแต่เดิมดังที่ปรากฏปริมาณ คุณภาพของบุคลากร องค์กร สถานศึกษา หลักสูตร และโอกาสการแสดงที่แพร่หลายในปัจจุบัน สมควรที่จะมีการศึกษาการกำหนดอัตราภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับนาฏกรรมในมิติอื่นๆเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่การนำไปใช้ต่อไป

Article Details

บท
ศิลปะการแสดง

References

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2547). ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำรามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์

โตโยต้า ประเทศไทย.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยา. (2546). ละครฟ้อนรำ: ประชุมเรื่องละครฟ้อนรำกับระบำรำเต้น

ตำราฟ้อนรำ ตำนานเรื่องละครอิเหนา ตำนานละครดึกดำบรรพ์ กรุงเทพฯ: มติชน.

ธรรมจักร พรหมพ้วย. (2561). นาฏกรรมไทยในรัชกาลที่ 3 [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต], จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์.

ภูริตา เรืองจิรยศ. (2561). นาฏกรรมในเทศกาลตรุษจีนปากน้ำโพ. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต],

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์.

มณิศา วศินารมณ์. (2561). นาฏกรรมไทยกับนโยบายการปกครอง พ.ศ.2468-2516 [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต],

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์.

_______. (2562). นาฏกรรมไทยกับการปกครอง. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, ปีที่ 17, ฉบับที่ 1, น.118-134.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2550). กฎหมายตราสามดวง เล่ม 1. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.

_______. (2550). กฎหมายตราสามดวง เล่ม 2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.

วิจิตรวาทการ, หลวง. (2506). นาฏศิลป. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

สุจิตต์ วงศ์เทศ. (2546). ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ เรื่อง ละครฟ้อนรรำ ประชุมเรื่องละครฟ้อนรำกับระบำรำเต้น ตำรา

ฟ้อนรำ ตำนานเรื่องละครอิเหนา ตำนานละครดึกดำบรรพ์. กรุงเทพฯ: มติชน.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2543). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้องภาพสุวรรณ.

_______. (2543). วิวัฒนาการนาฏยศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325-2475. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

อนุมานราชธน, พระยา. (2500). ร้องรำทำเพลง. พระนคร: โรงพิมพ์มิตรไทย.