ประสิทธิผลการจัดโครงการพัฒนาทักษะยุวมัคคุเทศก์ภาษาจีน เพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

พรเทพ เจิมขุนทด
วิภาวดี ทวี

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้ เป็นการศึกษาประสิทธิผลการจัดโครงการพัฒนาทักษะยุวมัคคุเทศก์ภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทพื้นและศักยภาพในการพัฒนาทักษะยุวมัคคุเทศก์ภาษาจีนเพื่อการการส่งเสริมท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อพัฒนาทักษะยุวมัคคุเทศก์ภาษาจีนภายใต้โครงการอบรมพัฒนามัคคุเทศก์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของยุวมัคคุเทศก์ภาษาจีนภายใต้โครงการอบรมพัฒนามัคคุเทศก์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ เครื่องมือในการวิจัย มีรายละเอียดดังนี้ 1) คู่มืออบรมโครงการอบรมพัฒนามัคคุเทศก์ภาษาจีนเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว 2) แบบทดสอบ Pretest และแบบทดสอบ Posttest ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ และความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และสำนวนภาษาจีนในการมัคคุเทศก์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของเยาวชนเกี่ยวกับการจัดโครงการอบรมพัฒนามัคคุเทศก์ภาษาจีนเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ สถิติที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์ (Cronbach’s Alpha-Coefficient) ซึ่งมีผลการศึกษาวิจัย ดังนี้    


บริบทพื้นที่การท่องเที่ยวภายใต้โครงการอบรมพัฒนามัคคุเทศก์ภาษาจีน พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่ มีการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน ทั้งที่เปิดเป็นแผนการเรียน มีหลักสูตรที่ชัดเจน และบางโรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนเป็นเพียงรายวิชาเพิ่มเติม เช่น เลือกเสรี และยังพบว่าหลาย ๆ โรงเรียนไม่ได้มีการเน้นพัฒนาเยาวชนให้เป็นยุวมัคคุเทศก์ภาษาจีน เพียงแต่สอนภาษาจีนตามทักษะ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน และประเด็นแหล่งท่องเที่ยว พบว่า ในชุมชนท่องถิ่นแต่ละอำเภอ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชมได้ และสามารถจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวได้ ส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น สร้างรายได้เสริมให้แก่มัคคุเทศก์ภาษาจีน กระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนได้ ภายหลังการพัฒนาทักษะยุวมัคคุเทศก์ภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยว ภายใต้โครงการอบรมพัฒนามัคคุเทศก์ภาษาจีนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ ทำให้โรงเรียนเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาภาษาจีน ซึ่งเป็นภาษาที่สำคัญมาก และเยาวชนสามารถใช้ความรู้มาใช้ในการท่องเที่ยวจะก่อให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละอำเภอสร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชนได้อีกด้วย


ผลการทดสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ พบว่า เยาวชนมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับด้านความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและทรัพยากรการท่องเที่ยวในท้องถิ่น ตลอดจนทักษะในการปฏิบัติงานด้านมัคคุเทศก์การท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ เพิ่มมากขึ้นหลังจากการเข้าร่วมโครงการ      


ผลการทดสอบความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และสำนวนภาษาจีนในการมัคคุเทศก์ พบว่าเยาวชนมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับด้านความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและทรัพยากรการท่องเที่ยวในท้องถิ่น ตลอดจนทักษะในการปฏิบัติงานด้านมัคคุเทศก์การท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ เพิ่มมากขึ้นหลังจากการเข้าร่วมโครงการ และผลความพึงพอใจของยุวมัคคุเทศก์ภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวภายใต้โครงการอบรมพัฒนามัคคุเทศก์ภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ความพึงพอใจเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการอบรมพัฒนามัคคุเทศก์ภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Articles

References

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬารายงาน. (2562). สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ม.ค. - ส.ค. ปี 2562 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สืบค้น วันที่ 17 มีนาคม 2563, เข้าถึงได้ จาก https://1th.me/crQ1L

จุฑาทิพย์ สุทธิเทพ. (2559). การพัฒนายุวมัคคุเทศก์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่น ของเยาวชน ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. คณะวิทยาการจัดการ นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ชํานาญ ม่วงทิม. (2541). คู่มือมัคคุเทศก์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณธีพัฒน์ วงศ์สิริฉัตร. (2559). ปัญหาและแนวทางการแก้ไขมัคคุเทศก์นำเที่ยวนักท่องเที่ยว จีน. กลุ่มวิชาการบริหารทั่ว ไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ ชลบุรี : มหาวิทยาลยับูรพา.

สิริรัตน์ วาวแวว. (2558). การพัฒนาศักยภาพของยุวมัคคุเทศก์ด้านการใช้ภาษาจีนในศูนย์ อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง. ลำปาง : มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง สถาบันวิจัยและพัฒนา.

เหนือขวัญ บัวเผื่อน. (2556). การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมภาษาจีนสำหรับมัคคุเทศก์น้อยใน โรงเรียนชุมชน วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. หนังสือรวมบทความวิชาการ การประชุมทางวิชาการจีนศึกษา ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 "ไข่มุกหล่นบนจานหยก: จีนศึกษา ภาษา วรรณกรรม และวัฒนธรรม สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และประยุกศิลป์ กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยหอหารค้าไทย. 2556.