ความคิด ความรัก และอาหาร: การศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในภาษาจีน

Main Article Content

ภัทรา พิเชษฐศิลป์

บทคัดย่อ

             อาหารเป็นมโนทัศน์ที่ผู้ใช้ภาษาชาวจีนคุ้นเคยเป็นอย่างดี เนื่องจากชาวจีนมีประสบการณ์ทั้งทางร่างกายและทางสังคมเกี่ยวกับอาหาร ดังนั้นผู้ใช้ภาษาชาวจีนจึงใช้มโนทัศน์อาหารเป็นแวดวงความหมายต้นทางเพื่อทำความเข้าใจมโนทัศน์อื่นๆ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ IDEAS ARE FOOD และ LOVE IS FOOD ของผู้ใช้ภาษาชาวจีน โดยรวบรวมข้อมูลจากคลังข้อมูลภาษาจีน มหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Center for Chinese Linguistics CCL) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้ภาษาชาวจีนอาศัยแวดวงมโนทัศน์อาหารในการทำความเข้าใจมโนทัศน์ความคิดและความรัก ผู้ใช้ภาษาอาศัยมโนทัศน์อาหารซึ่งเป็นมโนทัศน์ที่เป็นรูปธรรมเพื่อทำความเข้าใจที่เป็นนามธรรมอย่างมโนทัศน์ความคิดและความรัก ในงานวิจัยชิ้นนี้ แสดงกระบวนการเชื่อมโยงความหมายจากแวดวงความหมาย “อาหาร” ไปยังแวดวงความหมาย “ความคิด” และ “ความรัก” ซึ่งมีประโยชน์ต่อการการทำความเข้าใจมโนทัศน์ของผู้ใช้ภาษาชาวจีน

Article Details

บท
Articles

References

ภาษาไทย

ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์. (2560). “อุปลักษณ์แสดงอารมณ์ในภาษาไทย”, วิวิธวรรณสาร, 1(1): 63-86.

พราวพรรณ พลบุล. (2561). “อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์จากบทเพลง J-POP”, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 35(2): 331-361.

ภาษาอังกฤษ

Cruse, D. Alan. (2000). Meaning in Language. Oxford: Oxford University Press.

Irina Popaditch. (2004). Metaphors of Love in English and Russian. Retrieved from http://www.scribd.com/ (30 มกราคม 2564)

Ungerer, F. and Schmid, H. (1996). An Introduction to Cognitive Linguistics. New York: Longman.

ภาษาจีน

张少姿.(2009). 汉语人体器官名词的隐喻研究. 《河北理工大学学报:社会科学版》, 4: 125-126.