การศึกษาเปรียบเทียบการใช้คำขยายคำนามต่อเนื่องหลายคำในภาษาจีนสมัยใหม่ จากคลังข้อมูลและจากตำราการเรียนการสอนภาษาจีนสำหรับชาวต่างชาติ A COMPARATIVE STUDY ON THE USE OF MULTIPLE ATTRIBUTIVES IN MODERN CHINESE IN CORPUS AND CHINESE TEXTBOOKS FOR TEACHING CHINESE AS A FOREIGN LANGUAGE
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้ ใช้ฐานข้อมูลจากคลังข้อมูลที่เชื่อถือได้และจากตำราหนังสือเรียนภาษาจีนที่ใช้ในการสอนชาวต่างชาติที่ได้รับการนิยมอย่างแพร่หลาย เพื่อทำการวิเคราะห์เชิงลึกสำหรับการใช้คำขยายคำนามหลายคำต่อเนื่องกัน การวิจัยนี้ มุ่งเน้นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคำขยายคำนามและคำนามหลัก รวมถึงการเรียงลำดับของคำขยายคำนามและการแจกแจงความถี่ของการเรียงลำดับคำขยายที่แตกต่างกัน เพื่อค้นหารูปแบบการใช้งานและการเรียงลำดับของคำขยายคำนามที่นิยมใช้ในภาษาจีนสมัยใหม่ และเพื่อตรวจสอบว่าตำราการเรียนการสอนภาษาจีนสามารถสะท้อนการใช้งานของคำขยายคำนามได้อย่างถูกต้องเป็นจริง ผลการวิจัยพบว่า การใช้คำขยายคำนาม ในตำราภาษาจีนสำหรับชาวต่างชาติ และในคลังข้อมูลมีความสอดคล้องกันมาก โดยมีรูปแบบโครงสร้างที่มีการปรากฏใช้มากที่สุด คือ โครงสร้างคำขยาย 2 คำต่อเนื่องกัน แต่เมื่อคำขยายมีจำนวนต่อเนื่องกันมากขึ้น การปรากฏในการใช้งานก็ลดน้อยลง การวิจัยยังพบว่า ในโครงสร้างคำขยาย 2 คำ รูปแบบคำขยายที่มีการใช้มากที่สุด คือ คำขยายที่แสดง “จำนวน+คุณลักษณะ” ตามมาด้วยคำขยายที่แสดง “จำนวน+คุณลักษณะ” สำหรับโครงสร้างคำขยาย 3 คำนั้น พบว่ารูปแบบคำขยายที่มีการใช้มากที่สุดคือ คำขยายที่แสดง “จำนวน+คุณลักษณะ+คุณลักษณะ”และ คำขยายที่แสดง “ความเป็นเจ้าของ+คุณลักษณะ+คุณลักษณะ” และสำหรับ การใช้งานคำขยาย 4 คำ ต่อเนื่องกันขึ้นไป ไม่พบการปรากฏการใช้งานในรูปแบบใดๆ ที่ชัดเจน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานทางวิชาการที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหรือผู้แปลผลงานนั้น หากนำลงในวารสารจีนศึกษาเป็นครั้งแรก เจ้าของผลงานสามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารหรือหนังสืออื่นได้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่หากผลงานที่ได้รับพิจารณานำลงในวารสารจีนศึกษา เป็นผลงานที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อนเจ้าของผลงานต้องจัดการเรื่องปัญหาลิขสิทธิ์กับแหล่งพิมพ์แรกเอง หากเกิดปัญหาทางกฎหมาย ถือว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบของวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ ความคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวกับกองบรรณาธิการวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
References
Li J. (1924). The New Chinese Grammar. The Commercial Press.
Li J. (1986). The Comparative Grammar. Zhong Hua Book Company.
Li Y. (2010). The Study of Vocabulary Analysis from the Thai Universities Elementary Chinese Textbooks. Chinese Studies Journal, 3(3), 22.
Liu Y. (1984). The Collection of Chinese Grammar. Chinese Modern Press.
Liu X. (2010). New Practical Chinese Reader. Beijing Language and Culture University Press.
Lv S., & Zhu D. (1979). The Speech on Grammar and Rhetoric. The Youth Press of China.
Shi C. (1989). New Grammar. East China Normal University Press.
Yang J. (2009). Chinese Course. Beijing Language and Culture University Press.
Wang L. (1989). History of Chinese Grammar. Commercial Press.
Xu J., Lei Y., & Wang F. (2015). The Multiple Attributives in Elementary and Intermediate Levels of Bo Ya Chinese on the Scientific Principles of Textbook. International Journal of Chinese Language, 6(2), 29-41.
Zhang J. (1987). Questions of Chinese Grammar. The Social Science Press of China.