การศึกษามาตรฐานในการเลือกคำศัพท์เฉพาะทางเพื่อใช้ในการสอนภาษาจีน : กรณีศึกษางานบริการตัวแทนนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย A Study on the Word Selection Standards for Teaching Chinese for Specific Purposes: Taking the Real Estate Intermediary Service Industry in Thailand as an Example
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ต้องการศึกษาหลักการและมาตรฐานในการเลือกคําศัพท์เฉพาะทางเพื่อใช้ในการสอนภาษาจีน ในขณะนี้ยังไม่มีมาตรฐานการเลือกคำศัพท์ภาษาจีนที่เหมาะสมสำหรับสายงานด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งทำให้ยากต่อ การเลือกใช้คำที่เหมาะสมกับงานบริการตัวแทนนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย บทความนี้ทำการสัมภาษณ์ตัวแทนนายหน้าอสังหาริมทรัพย์และวิเคราะห์ความต้องการในการเรียน เพื่อให้ได้คำศัพท์ที่เฉพาะทางเกี่ยวข้องในสถานการณ์ การทำงาน และใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับขอบเขตการเลือกคำศัพท์ บทความนี้วิเคราะห์ลักษณะของศัพท์อสังหาริมทรัพย์ องค์ประกอบของศัพท์อสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงแบบเรียนที่เกี่ยวข้อง และแบ่งคำศัพท์ออกเป็น “คำศัพท์ภาษาจีนทั่วไป คำศัพท์อสังหาริมทรัพย์ทั่วไป และคำศัพท์อสังหาริมทรัพย์เฉพาะทาง” จนได้แนวทางการกำหนดพื้นฐานสี่ประการสำหรับการเลือกคำศัพท์ภาษาจีนเพื่อตัวแทนนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ความต้องการทางอาชีพ ความถนัดทางสายงาน องค์ประกอบคำศัพท์ คำศัพท์เฉพาะในประเทศไทย การศึกษานี้หวังว่าจะเป็นพื้นฐานสำหรับแนวคิดการเลือกใช้คำและวิธีการของภาษาจีนเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ และไม่จำกัดเฉพาะในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และภาษาจีนเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษในอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็สามารถอ้างอิงถึงงานวิจัยนี้ได้เช่นกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานทางวิชาการที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหรือผู้แปลผลงานนั้น หากนำลงในวารสารจีนศึกษาเป็นครั้งแรก เจ้าของผลงานสามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารหรือหนังสืออื่นได้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่หากผลงานที่ได้รับพิจารณานำลงในวารสารจีนศึกษา เป็นผลงานที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อนเจ้าของผลงานต้องจัดการเรื่องปัญหาลิขสิทธิ์กับแหล่งพิมพ์แรกเอง หากเกิดปัญหาทางกฎหมาย ถือว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบของวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ ความคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวกับกองบรรณาธิการวารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
References
Hutchinson, T. & Waters, A. (1987). English for Specific Purposes: A Learner-Centered Approach. Cambridge University Press.
ธัญชนก เล่ง. (2020). หลักสูตรสนทนาภาษาจีนสำหรับการแนะนำอสังหาริมทรัพย์ 房地产楼盘介绍中文教程.
ศูนย์ส่งเสริมการศึกษานานาชาติ หอการค้าไทย-จีน (TCCGE).
Chen Shaobo 陈少波. (1994). 试论汉语科技词汇. 浙江广播电视高等专科学校学报, -(4), 64-71.
Han Xue 韩雪. (2023)《医学汉语·实习篇》词汇选编研究. 吉林大学硕士学位论文.
Liao Chenlin 廖陈林. (2007). 在华商务人士汉语使用情况的个案调查. 北京语言大学硕士学位论文.
Liu Huiqing 刘慧清 & Cai Tian et al. 蔡瑱等. (2005). HSK(旅游)常用词语表选词原则及 相关问题. 对外汉语研究, -(00), 151-166.
Qian Yingying 钱瑛瑛 & Tang Kewei 唐可为. (2003). 房地产与建设项目管理专业英语. 上海: 同济大学出版社.
Song Jihua 宋继华 & Ma Jianfei et al. 马箭飞等. (2022). 职业中文能力等级标准的构建. 语言文字应用, -(2), 2-14.
Xiang Yinghui 项英辉 & Wang Yuezhu 王玥主. (2016). 房地产开发与管理专业英语. 北京: 中国电力出版社.
Yang Dongsheng 杨东升. (2010). 商务汉语词汇教学之管见. 工业大学学报 (社会科学版), 12(5), 109-111.
Zhang Bo 张博. (2022). 学术汉语词汇的主要特点及教学策略. 世界汉语教学, 32(4), 517-530.
Zhang Li 张黎. (2016). 专门用途汉语教学. 北京:北京语言大学出版社.