การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนประถมศึกษา: แนวทางสำหรับการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนประถมศึกษา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนประถมศึกษาและเพื่อศึกษาแนวทางสำหรับการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนประถมศึกษาในตำบลลี้และตำบลวังดินอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน เจ้าหน้าที่การเงินและบุคลากรที่ทำหน้าที่ทางการเงินของโรงเรียน ปีการศึกษา 2559 รวมทั้งสิ้นจำนวน 25 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า1) ด้านสภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนประถมศึกษา แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนประถมศึกษาได้ปฏิบัติตามกระบวนการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานครบทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ 1.1) ด้านการวางแผนงบประมาณมีการจัดสรรงบประมาณโครงการ พร้อมจัดประชุมชี้แจงแผนงบประมาณให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง 1.2) ด้านการคำนวณต้นทุนผลผลิต ได้มีการคำนวณต้นทุนของโครงการต่างๆ ในกระบวนการดำเนินงาน 1.3) ด้านการจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้างโรงเรียนได้ดำเนินขั้นตอนตามระเบียบพัสดุ พ.ศ. 2535 1.4) ด้านการบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่การเงินเพื่อบริหารงานบัญชี 1.5) ด้านการบริหารสินทรัพย์โรงเรียนได้ตรวจสอบความต้องการสินทรัพย์ มีการควบคุม ตรวจสอบพัสดุ ครุภัณฑ์ตามระบบ 1.6) ด้านการรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงานจะมีการรายงานผลการดำเนินงานเป็นวาระให้กับหน่วยงานต้นสังกัดรับทราบ และ 1.7)ด้านการตรวจสอบภายในโรงเรียนได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบภายในพร้อมทั้งให้รับการตรวจสอบภายในจากหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อแสดงถึงการบริหารงบประมาณที่โปร่งใส 2) การศึกษาสภาพปัญหาของการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน แสดงให้เห็นถึงปัญหางบประมาณไม่เพียงพอต่อการดำเนินโครงการบุคลากรด้านการเงินภายในโรงเรียนส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจในระเบียบและวิธีการบริหารงบประมาณที่ถูกต้องเหมาะสม อีกทั้งยังบกพร่องในกระบวนการคำนวณต้นทุนผลผลิต ขาดความชำนาญในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และขาดการเชื่อมโยงของขั้นตอนในการบริหารงบประมาณภายในโรงเรียน3) ข้อเสนอแนะและแนวทางในการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ต้องเชื่อมโยงการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานทั้ง 7 ด้านเข้าด้วยกันเพื่อให้การบริหารงบประมาณเกิดประสิทธิภาพ อาจต้องจำกัดจำนวนโครงการให้เหลือเฉพาะโครงการสำคัญซึ่งจะช่วยให้การบริหารงบประมาณมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการส่งเสริมเด็กนักเรียนให้สามารถนำวิชาความรู้ไปปฏิบัติเพื่อหารายได้โดยครูจะช่วยส่งเสริมหรือจัดตั้งเป็นชมรม และการบริหารงบประมาณไม่ได้มีวิธีการเฉพาะเจาะจง ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่การเงิน และบุคลกรที่ทำหน้าที่ด้านการเงินจะต้องมีการสื่อสารกับบุคลากรอื่นภายในโรงเรียน เพื่อช่วยออกแบบวิธีการบริหารงบประมาณให้ไปในทิศทางเดียวกัน
This research aimed to examine how the Primary basic elementary schools within Li District, Lamphun Province were potentially managing their finances. Using method called Performance-based budgeting (PBB) which the author had collecting data via interviewing (Semi-structured Interview Approach). The population consisted of directors, accountants, and teachers who had been appointed to serve as accountants in school, total 25 people (year 2016). The study shown that, (1)The Administration of Performance-Based Budgeting shown that the primary basic education schools had been performing in all 7 aspects, that are (1.1)budget planning (1.2)output costing (1.3)procurement management (1.4) financial management and budget control (1.5) asset management (1.6) financial and performance reporting and (1.7)internal audit. To be precise, they had been planning on budget allocation, calculate the cost-production of a project, having a formal government procurement as well as asset management, and having internal audit by the higher up agency. (2)The Issues of managing Primary school’s budget, that are, most of primary basic education schools were having inefficient budget, also with the lack of accountant and/or expertise in the field of finance which led to a defective of calculating cost-product of the project. Having the wrong staff to do the procurement would delay the process. Last but not least, there was no connection between 7 aspects which led to an ineffective of budgeting management. (3) Suggestions and guidelines for budgeting management, it was recommended that the primary basic education schools should connect all of 7 aspects altogether. It was suggested that the numbers of projects should be reduce in order maximize the use of limited budget. School manager as well as all the staff should provide supported and encouraged student to learn how to understand the charity. And there were always alternative ways to managing the budget but the staff manager need to inform other staff in school for a better performance.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
กรมสามัญศึกษา. (2545). ศูนย์ประสานงานปรับปรุงระบบงบประมาณ. ชุดปฏิบัติการจัดทำแผนกลยุทธ์และกรองงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
กรมสามัญศึกษา. (2544). เปิดประตูสู่ PBB ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). การบริหารสถานศึกษานิติบุคคล. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ. (2544).มาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 Hurdles กับการจัดทำงบประมาณแบบใหม่.(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพ ฯ: สถาบันนโยบายและการจัดการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิวิสณีย์ ลอมา. (2557). การบริหารงานงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3. การค้นคว้าอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
นงค์เยาว์ สุภาษร. (2554). การวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไขการบริหารงานบัญชีตามเกณฑ์คงค้างของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหาร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
บัณฑิต แสงกล้า. (2548). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิสมัย สุนนท์นาม. (2554). การศึกษาสภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรจันทร์ พรศักดิ์กุล. (2550). รูปแบบกระบวนการงบประมาณของโรงเรียนที่บริหารงบประมาณแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมจิตร ยะจอม. (2554). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 . วิทยานิพนธ์. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ. ลำปาง.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2. (2559). โรงเรียนประถมศึกษาในตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. วันที่สืบค้น 16 พฤษภาคม 2559. จากเว็บไซต์ http://www.lp2.go.th/lpn2/index.php
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและแนวทางติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัด คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
อุดม พรหมบุตร. (2551). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักเขพื้นที่ การศึกษาร้อยเอ็ดเขต 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.