การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชน: การวิเคราะห์ความคาดหวังและการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลดรุณนิมิต
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลดรุณนิมิต และเพื่อวิเคราะห์ความคาดหวังและสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลดรุณนิมิต อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 200 คน ในปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป แบบจำแนกชนิดข้อมูล โดยการวิเคราะห์แบบไม่ใช้ทฤษฏี ซึ่งอาศัยข้อมูลจากผู้ให้สัมภาษณ์โดยตรงผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลดรุณนิมิตมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมกับโรงเรียนใน 4 ด้าน ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนการเรียนรู้ พบว่าผู้ปกครองมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก โดยผู้ปกครองให้ความร่วมมือและมีเวลาเข้าร่วมการจัดกิจกรรมกับคณะครูและนักเรียนในโรงเรียนเป็นอย่างดี ด้านการติดต่อสื่อสาร พบว่าผู้ปกครองมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก โดยผู้ปกครองคอยเอาใจใส่ในตัวนักเรียน ช่วยกันแก้ไขปัญหา และแลกเปลี่ยนข้อมูลของนักเรียนกับคุณครูประจำชั้นอย่างสม่ำเสมอ ด้านการมีส่วนร่วมที่บ้าน พบว่าผู้ปกครองมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก โดยผู้ปกครองมีการให้ความร่วมมือและสนับสนุนนักเรียนหลังจากกลับไปที่บ้านแล้วเป็นอย่างดีและด้านการร่วมเป็นคณะกรรมการ พบว่าผู้ปกครองมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากผู้ปกครองส่วนมากประกอบธุรกิจส่วนตัว จึงไม่สามารถสละเวลาเพื่อเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการของโรงเรียนได้ส่วนการวิเคราะห์ความคาดหวังพบว่า ผู้ปกครองต้องการให้ทางโรงเรียนมีการวางแผนในการจัดกิจกรรมร่วมกับผู้ปกครองอย่างชัดเจน เพื่อจะได้นำไปวางแผนในการจัดสรรเวลาการเข้าร่วมกิจกรรมให้มากขึ้น และกระบวนการในการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนั้น ทางโรงเรียนควรมีการประชุมและชี้แจงกับผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองที่จะต้องดำเนินการในการเข้ามามีส่วนร่วมจัดกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น เพื่อผู้ปกครองนักเรียนจะได้มีการวางแผนล่วงหน้า และทางโรงเรียนควรใช้ช่องทางการสื่อสารที่มีความหลากหลายและมีความชัดเจน เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียนได้รับทราบอย่างทั่วถึง รวมทั้งทางโรงเรียนควรจัดให้มีผู้ปกครองนักเรียนแกนนำประจำห้องเพื่อทำหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้ปกครองด้วยกัน
จากผลการวิเคราะห์แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ทำให้โรงเรียนได้กระบวนการ(กิจกรรม) ที่สอดคล้องกับความต้องการ(โดยอาศัยผลการวิเคราะห์แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์) เพื่อผู้ปกครองสนใจมาร่วมกิจกรรมมากขึ้น
This research aimed to study the Parental participation of Private Kindergarten Students, Analysis of Expectations and Process Creation for Parental participation. The search population was the 200 parents of Private kindergarten School, Mueang District, Chiang Mai Province in the academic year 2015. The research tools were 5-level scale questionnaires about the Parental participation. Data were analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation. A Structured interview was used to analyze data type. By non-theoretical analysis. Based on information from the interviewer. The research found that Parents of private kindergarten have opinions about participation in 4 areas. The first area is participation and learning support which found that parents were highly involved. Parents cooperate and have time to participate in activities with teachers and students in school as well. The second area is communication which found that the parents were very active participants. They take care and help solve problems of the student, include regularly exchanging student information with teachers. The third area is the participation at home, which found that parents were very active participants. Parents are encouraged to cooperate and support their students after returning home. The last area is joint committed. It was found that the parents were moderately engaged. Because most parents run their own businesses. Therefore, it is not possible to take the time to become a board member of the school. The analysis of expectations in this area showed that. Parents want the school to plan their activities clearly which can help parents to decide to become a board member. And the process of creating parental participation is the school should meet and explain to parents about the role and duties of parents that must take part in school activities.
The results of the questionnaire and interviews. The school has a process that support parents to attend more activities.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
กรมวิชาการ . (2544). บทบาทของพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีต่อโรงเรียน. กรุงเทพฯ: กอง
วิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ.
ขนิษฐา เทวินทรภักติ. (2547). การวิจัยทางสวัสดิการสังคม. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จันรอล เงินคำ. (2543). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองเชียงของ จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จิราภรณ์ ศรีคำ. (2548). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนวชิรวิทย์ ระดับประถมศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษkศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธวัช บุญประเสริฐ. (2558). การสัมภาษณ์. สัมภาษณ์วันที่ 14 ธันวาคม 2558.
บุญชม ศรีสะอาด. (2542). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.
ปัญญา สกุลปั้นทรัพย์. (2548). ความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน คริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิศมัย ปั้นน้อย. (2550). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาการเรียนการสอนของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านพระ (ฉิ่งนาวิกอนุสรณ์) ศรีราชา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ราชภัฏราชนครินทร์.
มณีรัตน์ วงค์หงส์ (2554). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาลระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ การศึกษา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย. โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.
วีนัส จีวะรัตน์. (2555). การพัฒนากิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลพังงา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สว่างจิต โค้วบุญงาม. (2548). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวัฒน์ มุทธเมธา. (2524). ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อุ่นตา นพคุณ. (2520). การศึกษาเพื่อพุฒนาชุมชนและการศึกษาอรูปนัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ปรีชาการพิมพ์.