การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการฐานข้อมูลผู้สูงอายุสำหรับพื้นที่สังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการฐานข้อมูลผู้สูงอายุสำหรับพื้นที่สังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท กรณีศึกษาเทศบาลตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่2) พัฒนาซอฟต์แวร์ที่สอดคล้องกับรูปแบบที่สร้างขึ้น กระบวนการวิจัยประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) พัฒนารูปแบบ โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ กองสวัสดิการและสังคม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และแกนนำผู้สูงอายุ2) ตรวจสอบความเที่ยงตรงของรูปแบบโดยการสนทนากลุ่ม และการใช้แบบสอบถามในการประเมินรูปแบบของผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ กองสวัสดิการและสังคม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ผู้เชี่ยวชาญด้านฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญด้านงานผู้สูงอายุ และแกนนำผู้สูงอายุ 3) พัฒนาซอฟต์แวร์ระบบฐานข้อมูลโดยใช้ภาษา PHP เวอร์ชัน 5.3 และระบบจัดการฐานข้อมูลMySQL เวอร์ชัน 5.5
จากการวิจัยรูปแบบประกอบไปด้วย3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ข้อมูลเบี้ยยังชีพ คำนวณเบิกจ่ายเบี้ยยังชีพ และนำเสนอรายงานด้านเบี้ยยังชีพ2) ข้อมูลสุขภาพ จัดเก็บข้อมูลสุขภาพ และนำเสนอรายงานสรุปข้อมูลสุขภาพ และ 3) ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรม จัดเก็บข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรม และนำเสนอรายงานการเข้าร่วมกิจกรรมจากการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบพบว่า รูปแบบที่สร้างขึ้นสามารถนำเสนอสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานด้านข้อมูลผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพอันดับสูงสุด ( = 4.64, S.D. = 0.5) โดยซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลเป็นการพัฒนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากตอบสนองการทำงานแบบบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถบูรณาการงานทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานสำหรับพนักงานระดับปฏิบัติการ และนำเสนอสารสนเทศในรูปแบบรายงาน หรือส่วนเฝ้าระวังสำหรับผู้บริหาร
This research aimed to 1) Develop the model of database management for the elderly in rurban society: A case study of Nong Phueng Subdistrict Municipality, Saraphi District, Chiang Mai Province, and 2) Develop the software according to the model. This research consisted of 3 stages: 1) Develop a model. Interviews were used to collect data from executives and operational staff of Welfare and Social division, Public Health and Environment division, and leader of the elderly. 2) Validation of the model. The data were collected by administering group discussions and questionnaires with Executives and operational staff of Welfare and Social division, Public Health and Environment division, database specialist, senior care specialists, and leaders of the elderly. 3) Development of database management software by using PHP version 5.3 and MySQL version 5.5.
The developed model consists of 3 modules: 1) Subsistence allowance data: calculating and reporting the subsistence allowances 2) Health data: collecting and reporting health summary. 3) Participation of activities: collecting and reporting data of participations in activities. The result of evaluating the efficiency of the model showed that it has high efficiency level at = 4.64 and S.D. = 0.5. The database management software is web-based application since it can serve integration of all tasks of local administration to improve operational efficiency of operational staff and can present the information as reports or supervisory sections for the executives.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
รักษ์นรินทร์ แก้วศรีมา, ธรรมพร หาญผจญศึก, นันท์นภัส สุจิมา, วธุสิริ ฝั้นคำอ้าย, สุปราณี ใจตา, ปัณณพัฒน์ คำตุ้ย, เปรมวิทย์ เสนาฤทธิ์ และนิตยา บุญมูล. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินแบบบูรณาการเชิงพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงในบริบทชุมชนภายใต้สังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2(4), 2-15.
สมาภรณ์ แม่นมาตย์. (2551). การพัฒนารูปแบบการไหลของสารสนเทศผู้สูงอายุของหน่วยงานในระดับจังหวัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2560, จาก https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422.
เทศบาลตำบลหนองผึ้ง. (2560). แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี 2561-2564. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2560, จาก
https://www.nongphueng.com/image_files/ไฟล์เมนู/แผนพัฒนาท้องถิ่น%204%20ปี/พ.ศ.%202561-2564.pdf.