Science Learning Provision Through Constructivism Approach for Developing Analytical Thinking Ability of Mathayom Suksa 3 Students
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม เรื่อง ระบบนิเวศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนสอนโดยใช้แนวคิด คอนสตรัคติวิซึม เรื่อง ระบบนิเวศ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ที่มีต่อความสามารถในการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 โรงเรียนนาทรายวิทยาคม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2560 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการศึกษา ครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3/1 โรงเรียนนาทรายวิทยาคม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึม วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมาประกอบด้วย 7 แผนการเรียน จำนวนรวม 15 คาบเรียน 2) แบบทดสอบ วัดความสามารถในการรู้วิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์โดย หาค่าเฉลี่ยของคะแนน () ความเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนน (S.D.) และหาค่า t-test แบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน (Paired t-test)
ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิซึม มีคะแนนหลังการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน เท่ากับ 26.53 และมีค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เท่ากับ 36.87 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ผลการประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มและผลการประเมินพฤติกรรมรายบุคคล โดยแยกตามแผนการจัด การเรียนรู้สามารถสรุปได้ว่า ทุกแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทั้งหมด และผลการวิเคราะห์ผลการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ ที่สอนตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึมทั้ง 7 แผน ทำให้นักเรียน มีความสามารถในการรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น ทำให้การสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถ บรรลุวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.