The Results of Meditation Activities for Learning Development for Special Kids

Main Article Content

Siritarn Poonpipat
พระครูสุนทรสังฆพินิต ดร.
วิโรจน์ อินทนนท์

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง แบบทดสอบก่อนหลังและมีกลุ่มควบคุม และแบบ ABF control group design  มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษากิจกรรมการฝึกสมาธิเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (2) เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการฝึกสมาธิเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ที่จัดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ คือ เป็นเด็กสมาธิสั้นและเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ที่มีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วย โดยมีใบวินิจฉัยจากแพทย์ หรือคัดกรองโดยครูประจำชั้น ครูผู้สอนรายวิชา จากโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 คน โดยกำหนดให้เป็นกลุ่มทดลอง และโรงเรียนเทศบาลวัดเกตการาม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 คน โดยกำหนดให้เป็นกลุ่มควบคุม มีระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกสมาธิตามแนวหลวงพ่อเทียน จิตตฺสุโภ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ t-test แบบ 2 กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน และแบบ 2 กลุ่มตัวอย่างที่สัมพันธ์กัน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกสมาธิตามแนวหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภนั้น มีการเรียนรู้ในห้องเรียนดีขึ้น โดยมีความถี่พฤติกรรมไม่ตั้งใจเรียนหลังการทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  และมีความถี่พฤติกรรมไม่ตั้งใจเรียนในระยะหลังการทดลองน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ โดยนักเรียนกลุ่มทดลอง ก่อนได้รับการฝึกสมาธิ มักจะไม่ตั้งใจเรียน ก่อกวนชั้นเรียน เหม่อลอย ไม่มีสมาธิไม่สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จ แต่เมื่อได้มาฝึกเดินจงกรม และทำสมาธิตามแนวหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ ทำให้มีความตั้งใจเรียนมากขึ้น การก่อกวนชั้นเรียนลดลง มีสมาธิมากขึ้น สำหรับนักเรียนกลุ่มควบคุมมีการเรียนรู้ในห้องเรียนก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน


This research was an experimental research along pretest-posttest control group design and ABF control group design aiming at (1) studying the meditation activities for developing the special needs children’s learning, and (2) studying the results of using meditation activities. The experimental group sample used in this research was of 5 grade level 2 students enrolled in 2016 academic year classified at students with special needs who had attention deficit hyperactivity disorder and students having problem on learning with attention deficit syndrome diagnosed with medical report by physician or screened by the class teacher and the subject teacher from Wat Ku Kham Municipal School, Muang District, Chiang Mai Province. The control group sample was composed of 5 students from the from Wat Ketkaram Municipal School, Muang District, Chiang Mai Province. Operational period took 12 weeks. Experimental group subjects had been trained by meditation program along the guideline provided by Luangpor Teean Jittasubho. The data were analyzed using independent sample t-test and paired sample t-test. The findings reveal that after the experiment, the experimental group students who were trained to practice meditation along Luangpor Teean Jittasubho’s guideline had less inattentive behaviour than the students in control group at 0.05 level of significance. The inattentive behaviour of the students in the experimental group after the experiment was less than that before the experiment with a level of significance. For students in the control group, their inattentive behaviour before and after the experiment had not significantly differed. The frequency of the inattentive behaviour of the students in both groups before the experiment had not significantly differed. Besides, before practising the meditation, most students in the experimental group were not concentrated in class. They could not stop interrupting teachers and theirs friends After practising walking meditation and Luangpor Teean Jittasubho’s way of meditation, they stayed focused in classroom and had less interrupt teachers and theirs friends.

Article Details

Section
Research Articles

References

ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ และคณะ. (2544). ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเปลี่ยนแปลง จิตสำนึกเพื่อคลายเครียดโดยใช้การฝึกสมาธิ. สืบค้นเมื่อ 12 มิ.ย. 2560, จาก https://www.dmh.go.th/abstract/
นงพงา ลิ้มสุวรรณ. (2538). โรคสมาธิสั้น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประดิทรรศณ์ แดนเขตร. (2556). การเจริญสติตามแนวปฏิบัติของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ ในผู้ป่วย ภาวะตื่นตระหนก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ผุสดี เฉลิมสุข. (2543). ผลการฝึกควบคุมตนเองและการฝึกสมาธิที่มีต่อการปรับพฤติกรรมไม่สนใจในการ เรียนและผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พนม เกตุมาน. (2550). สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เรือนปัญญา จำกัด.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). สัมมาสมาธิ สมาธิแบบพุทธ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 39. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสุวรรณ สุวณฺโณ (เรืองเดช). (2553). ศึกษาผลการเจริญสติตามแนวปฏิบัติของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ: กรณีศึกษาผู้ปฏิบัติธรรมในสำนักปฏิบัติธรรมมหาสติปัฏฐาน 4 บ้านเหล่าโพนทอง. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มาโนช อาภรณ์สุวรรณ. (2550). โรคสมาธิสั้น หลากหลายวิธีบำบัดเพื่อลูกรัก. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์ ดี จำกัด.

รัตนา ตั้งชลทิพย์. (2530). ผลของการฝึกสมาธิแบบชาวพุทธต่อสุขภาพจิตของเด็กวัยเรียน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

เรณู นุ่มอาชา. (2533). ผลของการฝึกสมาธิด้วยการเจริญสติภาวนาอำไพ-เทคนิค สำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิเนตร มาดี. (2533). ผลการฝึกสมาธิก่อนเรียนต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2550). จิตวิทยาเด็กและผู้ใหญ่ที่มีลักษณะพิเศษ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน.
สุภาภรณ์ พงศธรบริรักษ์. (2552). ผลการพัฒนาสติของเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 7 จังหวัดเชียงใหม่ด้วยกระบวนการปฏิบัติสมาธิภาวนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุวรี ฤกษ์จารี. (2553). รูปแบบการให้ความช่วยเหลือเด็กไทยที่มีภาวะสมาธิสั้นโดยใช้บ้านและ โรงเรียนเป็นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ. (2549). ความรู้สึกตัว. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์สุภา จำกัด.

อภิวัตร พัฒนสุขเกษม. (2551). โรคสมาธิสั้นและวิธีแก้ไขทางพระพุทธศาสนา. สืบค้นเมื่อ 12 ก.ย. 2560, จาก https://www.crs.mahidol.ac.th/thai/apiwat.htm

อุดม ทิพย์พงศ์ธร. (2539). ผลของการฝึกอานาปานสติสมาธิที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านดอนเขว้า. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2555). สร้างสมาธิให้ลูกคุณ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ซันต้าการพิมพ์.

Beauchemin, J., Hutchins, T. L., Patterson, F. (2008). Mindfulness Meditation May Lessen Anxiety, Promote Social Skills, and Improve Academic Performance among Adolescents with Learning Disabilities. Complementary Health Practice Review, 2008: 13-34.

Harrison, L. J., Manocha, R., and Rubia, K. (2004). Sahaja Yoga Meditation as a Family Treatment Programme for Children with Attention Deficit-Hyperactivity Disorder, Clinical Child Psychology and Psychiatry, 2004, Vol. 9(4): 479–497.