การพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดท่องเที่ยวพำนักระยะยาวบ้านแม่แมะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

น้ำฝน เจนสมบูรณ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยว พัฒนาส่วนประสมทางการตลาดและแนวทางแก้ปัญหาของธุรกิจที่พำนักระยะยาวบ้านแม่แมะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาการมีส่วนร่วมกับชุมชนบ้านแม่แมะเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลโดยวิธีการสังเกตการณ์ การจัดเวทีประชุมสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คือ ผู้นำชุมชน 1 คน กรรมการหมู่บ้าน 5 คน สนทนากลุ่ม บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการพำนักระยะยาวบ้านแม่แมะ จำนวน 30 คน และผู้บริหารเทศบาลตำบลแม่นะ 5 คน และนักท่องเที่ยว 9 คน เก็บข้อมูลโดยใช้การสนทนากลุ่ม


ผลการศึกษาทราบว่าศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชนมีความพร้อมทางด้านธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีทัศนียภาพทางธรรมชาติที่หลงเหลือไว้อย่างสมบูรณ์เกิดจากความร่วมมือช่วยเหลือกันในการอนุรักษ์ป่าของคนในชุมชน การศึกษาส่วนประสมทางการตลาดทำให้มีเกิดการพัฒนาร่วมกันระหว่างนักวิจัยและชุมชน เพื่อให้นักท่องเที่ยวพำนักระยะยาวเพิ่มมากขึ้น อันจะทำให้มีรายได้มากขึ้น สำหรับการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่พำนักระยะยาวบ้านแม่แมะด้านศักยภาพโดยการปรับปรุงบ้านพักให้มีห้องน้ำในบ้านสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ กิจกรรมนวดตัวและอบตัวด้วยสมุนไพรแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน กิจกรรมเดินป่าท่องไพรตามรอยเส้นทางธรรมชาติ กิจกรรมชมป่าใบเมื่ยงและการสาธิตวิธีการเก็บใบเมื่ยง และกิจกรรมเยี่ยมชมหมู่บ้านชาวเขาเผ่าปะล่อง การจัดแผ่นพับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การจัดทำเว็บเพจเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทั้งภาษาไทยภาษาอังกฤษ การจัดอบรมภาษาอังกฤษเบื้องต้น การจัดอบรมการประกอบธุรกิจบริการ และการทำบัญชีให้กับตัวแทนคนในชุมชนบ้านแม่แมะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่


This research aims to study tourism tourism. Development of marketing mix and solutions for long-stay business Ban Maemae Chiang Dao District, Chiangmai Province by participating in Mae Mai community. Tools used to collect data by observation. Organizing seminars to exchange knowledge and opinions. The samples were 50 community leaders, 5 village councilors, 30 people involved in long-term residence, 5 people in Mae Na district and 9 people tourists as a group meeting.


The result of the study is that the potential of tourism in the community is well equipped with natural resources. Completely natural scenery is created by the cooperation in forest conservation of people in the community. The marketing mix has led to a common development among researchers in the community. To increase the long-term tourists. It will make more income. To propose a solution to the problem of long-term residence Maemae.Byimproving the house to have a bathroom in the house can accommodate tourists, able to accommodate tourists. Traditional Thai massage and herbal steam bathTrekking along the natural trail. Jungle trekking and demonstration of how to collect leaves. Visit the hill tribe villages. Thai and English brochures Web page publishing both Thai and English. Basic English Training on service business. And training in accounting. To the representatives of the Maemaeco mmunity, Chiang Dao District, Chiangmai Province.

Article Details

Section
Research Articles

References

กมลรัฐ อินทรทัศน์และคณะ. (2549). ศักยภาพของไทยต่อการดำเนินการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว. งานวิจัย สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จันทา แก้วใจมา. (9 ตุลาคม 2553). ผู้ดูแลบัญชีของลองสเตย์บ้านแม่แมะ. สัมภาษณ์

ฉัตรยาพร เสมอใจ. (2547). การบริหารตลาดบริการ ซีเอ็ดยูเคชั่น: สำนักพิมพ์ส. เอเชียเพลส(1989)

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 1.
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มยุรีย์ ทองสงฆ์. (2553). รายงานการประชุมสัมมนาเรื่องลองสเตย์โอกาสทองของการท่องเที่ยวไทยภาคเหนือ ในหัวข้อเรื่อง “สถานการณ์การแข่งขันในปัจจุบัน การพัฒนาธุรกิจแนวโน้มธุรกิจและนโยบายพัฒนาการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว”. เชียงใหม่.

วงค์ แก้วใจมา. (28 กรกฎาคม 2553). ผู้ใหญ่บ้าน. สัมภาษณ์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). ธุรกิจบริการ. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สบธนา อั๋นประเสริฐ. (2553). รายงานการประชุมสัมมนาเรื่องลองสเตย์โอกาสทองของการท่องเที่ยวไทยภาคเหนือ ในหัวข้อเรื่อง “การสนับสนุนธุรกิจพำนักระยะยาว และสถานการณ์การท่องเที่ยวในภาคเหนือ”. เชียงใหม่.

สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว. (2546). กรอบแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานบริการการท่องเที่ยวพำนักระยะยาว (Long Stay). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมัย อาภาภิรม และ เยาวนันท์ เชฏฐรัตน์, บรรณาธิการ. (2538). สถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทย 2538. โลกสีเขียวจิตสำนึกใหม่ของมนุษยชาติ. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

อุษาวดี พลพิพัฒน์. (2545). การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน : กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน
ในประเทศไทย. จุลสารการท่องเที่ยว 21,41 ( ตุลาคม- ธันวาคม ): 38-48.