The Development of Indicators of Leadership towards Corporate Culture: Case Study Executive Administration Office of the Attorney General

Main Article Content

Titayarak Rak Athikeeratiya
ฑิตยารักษ์ อธิษฐ์กีรติยา, 2491911

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะภาวะผู้นำเพื่อขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรของผู้บริหารงานธุรการ สำนักงานอัยการสูงสุด โดยใช้เทคนิค          เดลฟาย มีขั้นตอนดังนี้ 1) กำหนดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ และมีประสบการณ์ในด้านการพัฒนาภาวะผู้นำไม่ต่ำกว่า 3 ปี จำนวน 17 คน 2) สร้างเครื่องมือการวิจัย ผู้วิจัยทำการตรวจสอบความเที่ยงตรงก่อนนำไปใช้ 3) สอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 รอบ เครื่องมือรอบที่ 1 ใช้แบบสอบถามปลายเปิด เพื่อสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญแบบเจาะลึก จำนวน 17 คน รอบที่ 2 และรอบที่ 3 ใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้แก่ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด โดยใช้เกณฑ์การตัดสินระดับฉันทามติที่มี              ค่ามัธยฐานมากกว่า 3.49 แสดงว่าผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นด้วยเป็นส่วนใหญ่ หรือเห็นด้วยทุกประการ และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์น้อยกว่า 1.00 แสดงว่าผู้เชี่ยวชาญ              มีความคิดเห็นสอดคล้องกันสูงมาก ผลการศึกษารอบที่ 1 พบว่าตัวบ่งชี้คุณลักษณะภาวะผู้นำเพื่อขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กร มีจำนวน 47 ตัวบ่งชี้ ผลการศึกษารอบที่ 2 และ        รอบที่ 3 ผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญตัวบ่งชี้คุณลักษณะภาวะผู้นำเพื่อขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรแสดงค่ามัธยฐานมากกว่า 3.49 จำนวน 47 ตัวบ่งชี้ แสดงค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เท่ากับ 1.00 จำนวน 1 ตัวบ่งชี้ คือ คุณลักษณะภาวะผู้นำเป็นผู้ที่แสดงออกถึงตัวตนอย่างแท้จริง และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์น้อยกว่า 1.00 จำนวน 46 ตัวบ่งชี้ 


คำสำคัญ


          ตัวบ่งชี้ คุณลักษณะภาวะผู้นำ ผู้บริหารงานธุรการ 


Abstract


          This research aimed to develop indicators of leadership towards corporate culture for executive administration Office of the Attorney General.  The researcher uses Delphi technical process of three steps:  Step 1) Define 17 experts who have knowledge and experience in leadership development for at least 3 years.  Step 2) Experts examine the content validity of the research tool before use.  Step 3)Theresearcher interview by using Delphi technique for 3 times.  The first round of interview will be hold by in-depth expert with the open-ended questions.  Second and third round will be by a five-point rating scale levels which arrange from highest, high, average, less, and least.  Data was analyzed with a median of more than 3.49, that the majority most agree or agree.  The interquartile range was less than 1.00, that the most consistent comment.The results of the first data collection included leadership indicators towards corporate culture consists of 47 indicators.  Second and third data collection showed that the experts focused on 47 leadership indicators that displayed median values greater than 3.49.  There was one indicator of true leadership, showed that a interquartile range is 1.00.  There were 46 indicators showed a inter quartile range of less than 1.00.  


Keywords


          Indicators, Leadership, Executive Administration

Article Details

Section
Research Articles