The Methods of Increasing Efficiency and Productivity of Human Resources of Technical Colleges Technician Industrial of High Vocational Certificate in Thailand
Main Article Content
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการผลิตกำลังคน ของวิทยาลัยเทคนิค ประเภทช่างอุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในประเทศไทย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชียวชาญ ดำเนินการวิจัยด้วย EDFR ยึดตามรูปแบบ EFR กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการอาชีพทั้งทางตรงและทางอ้อม 2) ผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินปฏิบัติงานสนองนโยบายวิทยาลัยเทคนิค 3) ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักวิชาการเกี่ยวกับการจัดการศึกษา 4) ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้ใช้ผลผลิตจากทางวิทยาลัยเทคนิค วิเคราะห์ข้อมูลวิธี EDFR พิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านการอาชีวศึกษา
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
- ด้านคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา จะต้องมีการเพิ่มความรู้ทักษะฝีมือทางช่างวิชาชีพเชิงลึกในการปฏิบัติงานตามวิชาชีพระดับสูงเฉพาะเจาะจง มีทักษะภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรมและวิธีการทำงานเป็นทีม อดทน ขยัน ซื่อสัตย์สุจริต มีความใฝ่รู้และภาวะผู้นำ
- ด้านการจัดการเรียนการสอน จะต้องร่วมมือกับสถานประกอบการในการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะที่ตอบสนองตลาดแรงงาน และการประกอบอาชีพอิสระ ให้มีความหลากหลายสอดคล้องกับแผน
พัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม และสอดรับกับบริบทของท้องถิ่นอย่างชัดเจน มีความยืดหยุ่นเน้นปฏิบัติสัมผัสกับงานที่แท้จริง มีการศึกษาดูงานยังสถานประกอบการฝึกปฏิบัติจริง
- ด้านครูผู้สอน จะต้องมีการอบรมศึกษาดูงานพัฒนาความรู้ทั้งทฤษฏี ทักษะฝีมืออย่างต่อเนื่อง รู้ลักษณะงานอาชีพที่สอนอย่างลึกซึ้ง มีจรรยาบรรณ รู้ศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล มีการพัฒนางานวิจัยนำผลการวิจัยมาต่อยอด มีการพัฒนาผลิตเอกสารตำราสื่ออยู่เสมอ มีใบประกอบวิชาชีพตามเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพ ได้รับสวัสดิการผลตอบแทนที่ดีสูงขึ้นและยกระดับฐานะทางสังคมให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง
- ด้านความร่วมมือ จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการผลิตและพัฒนากำลังคนทั้งสมาคมวิชาชีพ ธุรกิจสถานประกอบการต่างๆ องค์กรผู้ใช้กำลังคนและวิทยาลัยเทคนิคผู้ผลิตกำลังคนทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค รวมถึงความร่วมมือระหว่างสถาบันจากต่างประเทศ
- ด้านมาตรฐาน จะต้องจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพดูแลกำหนดมาตรฐานทางวิชาชีพแต่ละสาขาภายใต้กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ให้มีความสอดคล้องกับทักษะฝีมือและค่าจ้าง โดยสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า ธุรกิจสถานประกอบการมีส่วนร่วมกำหนดเกณฑ์ความก้าวหน้าทางสายงานอาชีพในแต่ละสาขาช่างอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน
- ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ รัฐบาลจะต้องตระหนักให้ความสำคัญกับการศึกษาสายอาชีพวิทยาลัยเทคนิค สถาบันอาชีวศึกษา ในการผลิตกำลังคนอย่างจริงจัง รวมไปถึงกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน มีการกำหนดเป็นนโยบายแห่งชาติอย่างชัดเจน จัดสรรงบประมาณ ครุภัณฑ์ อย่างเพียงพอ มีการกำหนดนโยบายผลักดันการจ้างงานสู่สถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม สนับสนุนการนำผลการวิจัยมาพัฒนาต่อยอด มีการจัดทำฐานข้อมูลกำลังคนของประเทศระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคการศึกษา
- ด้านค่านิยมในการเรียนวิทยาลัยเทคนิค ภาครัฐจะต้องร่วมมือกับสถานประกอบการ สื่อมวลชนสร้างแรงจูงใจความภาคภูมิใจเกียรติ์ศักดิ์ศรี ค่านิยมในการเรียนสายอาชีพ ประเภทช่างอุตสาหกรรม มีการประชาสัมพันธ์จุดเด่นของสายอาชีพ เรียนรู้จริง ทำจริง ทำได้ เก่งฝีมือ เก่งงาน เก่งปฏิบัติ จบแล้วมีงานทำ มีโอกาสก้าวหน้า
- ด้านการบริหารจัดการ จะต้องมีความเป็นอิสระผลิตช่างฝีมือสายปฏิบัติการประเภทช่างอุตสาหกรรมในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและปริญญาตรี โดยมีเป้าหมายนโยบายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นนิติบุคคล ชุมชนมีส่วนร่วม มีการกระจายอำนาจในแต่ละฝ่าย ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล บริการวิชาชีพสู่สังคม เหมาะสมตามความต้องการของชุมชน สังคม องค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
บุญสืบ โพธิ์ศรี. (2559). การบริหารหลักสูตรเพื่อสร้างคุณลักษณะแรงงานฝีมืออาชีพในระดับอาชีวศึกษา. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 9 (1), 1268 – 1287.
เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดฝึกอบรมแบบศูนย์การเรียนที่ส่งเสริมความรู้เรื่องการทำงาน การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น. 10 (4), 175 – 186.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2555). การศึกษาความต้องการกำลังคนเพื่อวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาและสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
ประเทศไทย.
อุดมศักดิ์ มีสุข. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สาขาช่างอุตสาหกรรม ในสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11 (3), 221 – 235.
Dubrion, Michael; & Ireland, G.D. (1993). Management and Organization. 2nd ed. Ohio: South Western Publishing.
Prosser, Charles A; Hawkins, Layton S.; and Wright, John C. (1951). Development of Education. Chicago: American Technological Society.
Tuttle, A. (2002). Co – operating with the Competition. Industrial Distribution. (91): 40 – 42.