การสังเคราะห์องค์ประกอบและข้อมูลสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการจัดการความรู้ด้านการ บริหารงานระหว่างสถาบันอุดมศึกษา

Main Article Content

อดิเรก เยาว์วงค์
พัลลภ พิริยะสุรวงศ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการจัดการความรู้ ด้านการบริหารงาน ระหว่างสถาบันอุดมศึกษา และสังเคราะห์องค์ประกอบและข้อมูลสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการจัดการความรู้ ด้านการบริหารงาน ระหว่างสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มข้อมูลที่นำมาสังเคราะห์องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวคิดการจัด ทำข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาแห่งชาติ 2) แนวคิดภารกิจของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) แนวคิดการบริหารงาน ตามภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการสังเคราะห์ข้อมูลได้แก่ 1) แบบสำรวจข้อมูล เพื่อสังเคราะห์ ข้อมูลประกอบด้วย กลุ่มข้อมูลโครงสร้างข้อมูล รายการข้อมูล และ 2) แบบสรุปข้อมูลเพื่อการสังเคราะห์องค์ประกอบ และข้อมูลสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ด้านการบริหารงานระหว่างสถาบันอุดมศึกษา ส่วนขั้นตอนการสังเคราะห์ องค์ประกอบใช้ทฤษฏีของ Harris Martin Cooper ได้แก่ 1) กำหนดคำถามและเงื่อนไขการเลือกพิจารณารายงาน วิจัย 2) การรวบรวมข้อมูล 3) การประเมินคุณภาพของข้อมูล 4) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล และ 5) สรุปผลการวิจัย สถิติ ที่ใช้ในการสังเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่และร้อยละ ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบและข้อมูลสารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการจัดการความรู้ ด้านการบริหารงาน ระหว่างสถาบันอุดมศึกษา พบว่ามีองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านการบริหารงานนักศึกษา 2) องค์ประกอบด้านการบริหารงานบุคลากร 3) องค์ประกอบ ด้านการบริหารงานวิชาการ 4) องค์ประกอบด้านการบริหารงานสถานศึกษา 5) องค์ประกอบด้านการบริหารโครงการ และ 6) องค์ประกอบด้านการบริหารงานทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐาน

 

The Synthesis and Electronic Data Information for Knowledge Service Management of Educational Administration between Higher Education Institutions to the purposes was 1) To study Electronic Data Information for Knowledge Service Management of Educational Administration between Higher Education Institutions 2) To synthesis and Electronic Data Information for Knowledge Service Management of Educational Administration between Higher Education Institutions. The information for research was 1) The National Education Information System (NEIS) 2) Mission of Higher Education 3. The Educational Administration. The Synthesis tool was 1) The survey document for synthesis was data Instruction, list data and data source 2) The summary of Synthesis Electronic Data Information for Knowledge Service Management of Educational Administration between Higher Education Institutions. The step of Synthesis usage Harris Cooper Theory was 1) Formulating the Problem 2) Gathering Information from Studies 3) Evaluating the Quality of Studies 4) Interpreting the evidence 5) Presenting the Results. The data were analyzed by using percentage and frequency. The analysis revealed as following: there are 6 components were 1) Academic Management 2) Student Management 3) Human Resource Management 4) Academy Management 5) Project Management 6) Resource and Infrastructure Management.

Article Details

Section
Research Articles