การสร้างตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการธุรกิจโครงการบ้านจัดสรร: กรณีศึกษา อำเภอเมืองชียงราย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ลชนา ชมตระกูล
สรบุศย์ รุ่งโรจน์สุวรรณ
สุวัฒนา ธาดานิต

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการธุรกิจโครงการ บ้านจัดสรร อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยที่อาศัยข้อมูลที่รวบรวมได้จาก แหล่งที่มาขององค์ความรู้เป็นข้อสรุป โดยใช้ทั้งวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Method) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การคัดเลือกตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ ธุรกิจโครงการบ้านจัดสรรที่มาจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโครงการ บ้านจัดสรร ประกอบการร่างชุดตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการธุรกิจโครงการบ้านจัดสรร อำเภอเมือง เชียงราย จังหวัดเชียงราย เพื่อนำไปเป็นกรอบหรือเป็นแนวทางระหว่างการวิจัย 2) การคัดเลือกตัวชี้วัดความรับผิดชอบ ต่อสังคมของผู้ประกอบการธุรกิจโครงการบ้านจัดสรรโดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ในส่วนของการได้มาของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้วิจัยได้ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจโครงการบ้านจัดสรร ผู้บริหาร พนักงาน ลูกค้า ผู้นำชุมชน 3) การถ่วงน้ำหนักองค์ประกอบและตัวชี้วัด โดยให้ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจัดเรียงลำดับ ความสำคัญขององค์ประกอบและตัวชี้วัด เพื่อนำไปถ่วงน้ำหนัก องค์ประกอบและตัวชี้วัด 4) การสร้างเกณฑ์ประเมิน ตัวชี้วัด ผู้วิจัยได้พิจารณาการสร้างเกณฑ์ประเมินตัวชี้วัดแต่ละตัวชี้วัดจากชนิดของตัวชี้วัด คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต โดยอาศัยหลักการที่สอดคล้องกับการสร้างการมีส่วนร่วม กระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนการ ทำงาน (PDCA) ระดับความพึงพอใจ และจำนวนผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง และ 5) การทดสอบใช้ตัวชี้วัดความรับผิดชอบ ต่อสังคมของผู้ประกอบการธุรกิจโครงการบ้านจัดสรร อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย กับธุรกิจโครงการบ้านัดสรรที่เป็นกรณีตัวอย่าง โดยตั้งข้อสังเกตจุดเด่น จุดด้อย และผลการสัมภาษณ์ความคิดเห็นหลังจากการทดสอบ ใช้ตัวชี้วัด

ผลการศึกษาวิจัย พบว่า องค์ประกอบและตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการธุรกิจโครงการ บ้านจัดสรร :กรณีศึกษา อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย สามารถจำแนกออกเป็นองค์ประกอบ 6 ด้าน ประกอบด้วย 25 ตัวชี้วัด และผลจากการทดสอบใช้ตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดแต่ละตัวมีคุณสมบัติสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจโครงการ บ้านจัดสรร สามารถตอบสนองความต้องการของพนักงาน ชุมชน ลูกค้า และสังคมได้เป็นอย่างดี และยังสอดคล้อง กับคุณลักษณะของตัวชี้วัดที่ดีและมีความเหมาะสม ซึ่งถือได้ว่าสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการวัดความรับผิดชอบ ต่อสังคมของผู้ประกอบการธุรกิจโครงการบ้านจัดสรรได้

ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัย หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจโครงการ บ้านจัดสรร ควรนำตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการธุรกิจโครงการบ้านจัดสรร อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงรายไปใช้เป็นเครื่องมือในการประเมิน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ ธุรกิจโครงการบ้านจัดสรร เพื่อส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภคต่อไป

 

This study aims to postulate corporate social responsibility Key Performance Indicators (KPIs) for real estate developers in Muang District, Chiang Rai Province. Both quantitative and qualitative approaches are used for data elicitation. The study comprises of five phases: 1) KPIs selection from literature reviews for drafting indicators for corporate social responsibility of developers in housing real estate business Mueang Chiang Rai district, Chiang Rai province, 2) KPIs selection by key informants, in case of key informants came by purposive sampling; developers in housing real estate business, executive, officer, customer and community leader 3) KPIs weighting by key informants with ranking indicators 4) evaluation criteria postulation by relating type of indicators; input process output which match participation, participatory process, PDCA, satisfaction ranking and output, and 4) KPIs testing with a real estate developer. Results show that there are 6 components with 25 KPIs for corporate social responsibility (CSR) for real estate developers and each indicator relates with housing real estate business, relating requirement of officer, community, customer and society, and relating with good characteristic.

It is suggested that both government and private sectors who run housing real estate should employ this KPIs for the evaluation of their CSR projects. These KPIs would help develop the developers’ CSR so that the CSR projects could be done upon the highest benefit for the consumer.

Article Details

Section
Research Articles