การจัดการแหล่งเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน

Main Article Content

นวพร ผุสดี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการแหล่งเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน ด้วยวิธีการนำแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการแหล่งเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ให้แก่คณะผู้บริหารงานฝ่ายวิชาการและครูกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2554 จำนวน 40 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ความถี่และร้อยละ

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ด้านการวางแผนโรงเรียนได้มีการกำหนดมาตรฐานการใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มสาระ มีการสำรวจข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้แหล่งเรียนรู้แสดงความคิดเห็น ส่วนที่โรงเรียนไม่ได้ปฏิบัติ คือ การสำรวจความต้องการของชุมชนในการใช้แหล่งเรียนรู้ และการแต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงานการจัดการแหล่งเรียนรู้ ด้านการดำเนินการโรงเรียนได้มีการใช้แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และโรงเรียนสนับสนุนให้ครูไปทัศนศึกษานอกสถานที่เพื่อพัฒนาตนเอง ส่วนที่ไม่ได้ปฏิบัติ คือ การส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการแหล่งเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอุดหนุนด้านงบประมาณ และด้านการนิเทศติดตามผลได้มีการปฏิบัติในประเด็นดังนี้ มีการรับฟังข้อคิดเห็นของผู้ใช้แหล่งเรียนรู้ ส่วนที่ไม่ได้ปฏิบัติ คือ การนิเทศการใช้แหล่งเรียนรู้และจัดทำปฏิทินกำหนดการนิเทศ

 

The purpose of the research was to study the management of the learning resources of the department of career and technology at Chak Kham Khanathon School, Lamphun Province. There were 40 populations used in this research, academic administrators and teachers in the department of career and technology of the academic year of 2011. The research tool was a questionnaire about the management of the learning resources of the department of career and technology at ChakKhamKhanathonSchool,LamphunProvince. The data was analyzed by frequency and percentage.

The results of the research were as followed. In planning stage, there were standards in using learning resources of the department. The survey of the basic data was applied and the users had an opportunity to express their opinions. While the survey community needs about the learning resources was not applied. The committees who responded for the management of the learning resources were not found. In action stage, the learning resources in school were used. There were lesson plans. Visiting outside school learning resources was supported in order to create an opportunity for teachers to improve their skills. While parents didn’t have roles to manage the learning resources as well as the communities did not support any budget for the learning resources. In the follow up stage, the users had an opportunity to express the ideas toward the learning resources. While the learning resources follow up, planning for the supervision, and the project were not found.

Article Details

Section
Research Articles