สถานการณ์เชื้อเพลิงฟอสซิลและศักยภาพพลังงานทดแทนในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำให้ความต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิลสูงขึ้นโดยเฉพาะเชื้อเพลิงหลัก 3 ชนิด คือ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน การบริโภคน้ำมันดิบทั่วโลก ปีละ 84,077,000 บาร์เรล ก๊าซธรรมชาติปีละ 2,940.4 พันล้านลูกบาศก์เมตร และถ่านหินปีละ 3,278.3 ล้านตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ จากการบริโภคในปริมาณนี้คาดการณ์ว่าน้ำมันดิบจะหมดไปจากโลกในปี พ.ศ.2582 ก๊าซธรรมชาติ ปี พ.ศ.2604 และ ถ่านหิน ปี พ.ศ.2760
สภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยต้องพึ่งพาน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน เป็นหลัก ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ 4,505 ล้านลิตรต่อเดือน น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 350 ล้านลิตรต่อเดือน ซึ่งแหล่งสำรองน้ำมันดิบในประเทศไทยไม่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละปี ปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองในประเทศ มีปริมาณ 356 พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ สามารถใช้ได้ พ.ศ.2562 ปริมาณถ่านหินสำรองในประเทศ มีปริมาณ 1,676 พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ สามารถใช้ไปได้ถึง พ.ศ.2602
เมื่อน้ำมันดิน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ในโลกและในประเทศหมดลง แหล่งพลังงานที่สำคัญที่ใช้ในประเทศ คือ พลังงานทดแทน ประกอบด้วย พลังงานชีวมวลของแข็ง พลังงานแสงอาทิตย์เชิงไฟฟ้าและความร้อน พลังงานลม พลังงานน้ำ ขยะ เชื้อเพลิงชีวภาพของเหลว ก๊าซชีวภาพ และพลังงานความร้อนใต้พิภพ ซึ่งหากมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถนำเอาพลังงานทดแทนเหล่านี้มาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้วจะสามารถแทนที่เชื้อเพลิงฟอสซิลได้ทั้งหมดArticle Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.