การประยุกต์การสำรวจระยะไกลเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลก

Main Article Content

กมลวรรณ วัฒนชัย

Abstract

การสำรวจระยะไกลได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมไปถึงผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลก เช่น ลักษณะภูมิประเทศ มหาสมุทร และชั้นบรรยากาศ ซึ่งหากเราไม่มีระบบการสำรวจธรรมชาติด้วยดาวเทียมแล้ว เราอาจไม่มีข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ ตลอดจนการปรับตัว และและสร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศ เพื่อป้องกัน หรือลดความเสี่ยงต่อวิกฤตการณ์ที่จะเผชิญในอนาคต ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ โคจรอยู่ในตำแหน่งที่สูงจากพื้นโลก ส่งผลให้เกิดความได้เปรียบอันที่ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลได้เป็นบริเวณกว้าง (Synoptic view) ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลบริเวณเดียวกันได้หลายช่วงเวลา ซึ่งเป็นผลดีต่อการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวโลก และชั้นบรรยากาศของโลก องค์กรทางด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC: Intergovernmental Panel on Climate Change) ของสหประชาชาติซึ่งทำหน้าที่ค้นคว้า และจัดทำรายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ได้นำเอาภาพข้อมูลดาวเทียมมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เนื่องจากภาพข้อมูลดาวเทียมนั้นสามารถนำไปใช้เปรียบเทียบเชิงปริมาณของพลวัตการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวโลก สมุทรศาสตร์ และชั้นบรรยากาศ ในการติดตามและประเมินสถานการณ์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนประยุกต์ใช้ภาพข้อมูลดาวเทียมและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเชิงพื้นที่ ในการสนับสนุนและให้บริการข้อมูลที่สามารถนำไปสู่การวางแผนและบริหารจัดการผลกระทบ เพื่อรับมือจากวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

Section
Academic Articles