ประสิทธิผลของเทคนิคการนำเสนอที่แตกต่างต่อการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดีย

Main Article Content

ชาตรี บัวคลี่
อุดมลักขณ์ ธรรมปัญญา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดียที่ใช้เทคนิคการนำเสนอแตกต่างกัน ได้แก่ การใช้ข้อความบรรยาย การใช้เสียงบรรยาย และเกมจำลองสถานการณ์ ที่มีผลต่อการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัยของผู้เรียน เนื้อหาของสื่อคือการตัดแต่งภาพด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop CS3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 คณะศิลปกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่ จังหวัดแพร่ จำนวน 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ สื่อมัลติมีเดียช่วยสอน แบบทดสอบด้านพุทธิพิสัย แบบทดสอบทักษะพิสัย และแบบวัดจิตพิสัย (เจตคติต่อเนื้อหา และสื่อ) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

ประสิทธิผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย พบว่า คะแนนที่เพิ่มขึ้นหลังการทดลองของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 โดยเทคนิคการนำเสนอด้วยเสียงบรรยายมีประสิทธิผลต่อการเรียนรู้มากที่สุดและกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.84 รองลงมาคือ เทคนิคการนำเสนอด้วยข้อความบรรยาย กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ตามด้วยเทคนิคการนำเสนอด้วยเกมจำลองสถานการณ์ ที่กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ 6.56

ประสิทธิผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย พบว่าเป็นไปในทางเดียวกันกับด้านพุทธิพิสัยคือ คะแนนที่เพิ่มขึ้นหลังการทดลองของกลุ่มตัวอย่างแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มที่เรียนรู้ผ่านเทคนิคการนำเสนอด้วยเสียงบรรยายมีคะแนนเพิ่มขึ้นมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 21.56 รองลงมาคือ กลุ่มที่เรียนรู้ผ่านเทคนิคการนำเสนอด้วยข้อความบรรยายมีคะแนนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.36 และกลุ่มที่เรียนรู้ผ่านเทคนิคการนำเสนอด้วยเกมจำลองสถานการณ์ มีคะแนนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.00

ประสิทธิผลการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีเจตคติต่อเนื้อหา ทั้งทางด้านการรับรู้ ความสนใจ/ชอบ และการตอบสนองหลังการทดลองในทิศทางที่ดี (สัมภาษณ์) เช่นรับรู้ถึงคุณสมบัติและการใช้งานโปรแกรม สนใจและชอบโปรแกรมมากขึ้น มีการตอบสนองที่จะนำความรู้ไปต่อยอดและประยุกต์ในการเรียนและการทำงานในอนาคต ส่วนเจตคติต่อสื่อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีเจตคติที่ดีต่อสื่อที่ใช้เทคนิคการนำเสนอด้วยข้อความบรรยายและสื่อที่ใช้เทคนิคการนำเสนอด้วยเสียงบรรยาย และมีเจตคติระดับปานกลางต่อเทคนิคการนำเสนอด้วยเกมจำลองสถานการณ์

 

This study was conducted to compare the effectiveness of multimedia computer-aided instruction with different presentation techniques (text, sound and game simulation) having an effect on student learning on cognitive domain, effective domain, and psychomotor. The sample group in this study consisted of 75 first year college students, Faculty of Fine Arts, Phrae Vocational College. The following tools were used in this study: multimedia teaching aid, cognitive test, effective test, and psychomotor test. Obtained data were analyzed by using mean, frequency, standard deviation, Chi – square, and one – way variance analysis. Results of the study revealed the following:

Effectiveness on cognitive domain learning, there was a statistically significant difference of an increased score after the experiment among the three sample groups (0.05). It was found that the presentation technique using sounds had most effective on learning since the sample groups had an increased score of 12.84%. This was followed by the presentation technique using written text with an increased score of 10.6% and game simulation with an increased score of 6.56%.

Effectiveness on psychomotor learning, it was found in the same pattern of the cognitive domain learning. There was a statistically significant difference among the obtained scores of the 3 groups . The student group learning through sound lecturing obtained an increased score most (20.96%). This was followed by those learning through written text (15.96%), those learning through game simulation (13.60%).

Effectiveness on effective domain learning, it was found that all sample groups had good attitude towards the learning content in terms of perception, interest, and responsiveness after the experiment. They could perceive the properties and program utilization. This could be responsive to the application in learning and future working. For satisfaction towards the media, it was found that all of the sample groups had good satisfaction towards the media used in written text lecture and sound lecture. However, the sample groups had a moderate level of game simulation technique.

Article Details

Section
Research Articles