การดำเนินงานวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน

Main Article Content

มงคล ผุสดี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การดำเนินงานวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน ประชากรที่ศึกษาครั้งนี้ คือผู้บริหารและครูกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2554 จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามปลายปิดแบบเลือกตอบ และแบบปลายเปิดแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวข้างต้น นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ความถี่และร้อยละ

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นว่า มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินงานวิชาการด้านต่างๆ ส่วนใหญ่ในเกือบทุกประเด็น กล่าวคือ ด้านหลักสูตรและการใช้หลักสูตรด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้ ด้านงานวิจัยในชั้นเรียนและด้านการนิเทศการสอน มีความเห็นว่าที่ไม่ได้ปฏิบัติ คือ การจัดหาเอกสารหลักสูตรและคู่มือการใช้หลักสูตรให้ครู การจัดรายวิชาตรงตามความสนใจของนักเรียน การใช้สื่อโดยคำนึงถึงประสบการณ์และวัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่องและการวางแผนการนิเทศภายในโรงเรียน ปัญหาครูขาดความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์หลักสูตร การบูรณาการการเรียนการสอนและหลักสูตรท้องถิ่น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความถนัดของผู้สอนมากกว่าความสนใจของผู้เรียน สื่อการสอนขาดคุณภาพนักเรียนไม่ได้ฝึกทักษะปฏิบัติเท่าที่ควร ครูขาดความรู้ความเข้าใจและไม่ได้รับการส่งเสริมในการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนยังไม่เห็นความสำคัญของการจัดการนิเทศการสอน

 

The purpose of the research was to study the academic affairs performance in career and technology, Chak Kham Khanathon School, Lamphun Province. Population used in this research included 50 school personnel who were school academic administrators and teachers in  career and technology  division of the academic year of 2010. The research tool was a questionnaire about academic  affairs performance  in career and technology at Chak Kham Khanathon School, Lamphun Province. The data were  analyzed by frequency and percentage.

The findings were summarized as follows: the result from most people who completed the questionnaire revealed that all aspects of academic affairs were practiced.  They were  curriculum and curriculum implementation, teaching, teaching aids and learning resources, classroom research, and teaching supervision.  Some aspects that were not found included  preparing documents and teacher manuals for teachers, offering subjects that served students’ needs, using teaching aids regarding to students’ experiences and age, promoting teachers to do some classroom research and supervision planning.  Problems included teachers and  skills in  lacking of curriculum analysis skills of teachers, integrating classroom teaching and local curriculum. Learning activities were provided according teachers’ interest rather than students’ needs. Besides teaching aids were limited and students did not have enough chance to practice their skills. Teachers lacked knowledge and understandings of classroom research and were not encouraged by the school. The school did not pay much attention in teaching supervision.

Article Details

Section
Research Articles